โครงการวิจัย
อัตลักษณ์ลังกาสุกะสู่อาภรณ์มุสลิมร่วมสมัย
Identity of Langasuka to Muslim modern fashion
รายละเอียดโครงการ
ปีงบประมาณ | 2558 |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ | |
ลักษณะโครงการ | โครงการใหม่ |
ประเภทโครงการ | โครงการเดี่ยว |
ประเภทงานวิจัย | |
วันที่เริ่มโครงการวิจัย (พ.ศ.) | 1 มกราคม 2557 |
วันที่สิ้นสุดโครงการวิจัย (พ.ศ.) | 1 มกราคม 2558 |
วันที่ได้รับทุนวิจัย (พ.ศ.) | 1 มกราคม 2557 |
ประเภททุนวิจัย | งบประมาณแผ่นดิน |
สถานะโครงการ | สิ้นสุดโครงการ(ส่งผลผลิตเรียบร้อยแล้ว) |
เลขที่สัญญา | |
เป็นโครงการวิจัยที่ใช้ในการจบการศึกษา | ไม่ใช่ |
เป็นโครงการวิจัยรับใช้สังคม | ไม่ใช่ |
บทคัดย่อโครงการ | อัตลักษณ์ลังกาสุกะสู่อาภรณ์มุสลิมร่วมสมัย อภิฤดี อนันตพันธ์1 ผกากรอง เทพรักษ์2 บทคัดย่อ การศึกษาและสร้างสรรค์อัตลักษณ์ลังกาสุกะสู่อาภรณ์มุสลิมร่วมสมัย โดยผู้วิจัยได้ทำการศึกษาถึงรูปแบบของลวดลายลังกาสุกะและวิธีการสร้างสรรค์ลวดลายลังกาสุกะจากงานสถาปัตยกรรมของช่างศิลป์หรือศิลปินในอดีตนำมาประยุกต์ใช้ต่อการสร้างสรรค์งานออกแบบลวดลายผ้าบาติกในยุคปัจจุบัน เพื่อให้เกิดเครื่องแต่งกายมุสลิมที่ร่วมสมัย และช่วยให้เกิดการตอบสนองต่อคนรุ่นใหม่ ได้เล็งเห็นถึงคุณค่าความงามที่มีเสน่ห์ ของวัฒนธรรมลังกาสุกะ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อการส่งเสริมและเชิดชู คุณค่า เสน่ห์วัฒนธรรมลังกาสุกะ และเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตปัจจุบัน 2) เพื่อพัฒนาการออกแบบและสร้างแบรนด์ ผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายมุสลิมที่มีทุนวัฒนธรรมลังกาสุกะร่วมสมัย โดยกระบวนการศึกษานั้นได้ศึกษาทั้งภาคเอกสาร จากหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับวัฒนธรรมลังกาสุกะ และศึกษาภาคสนาม โดยการสอบถามข้อมูลจากปราชญ์ท้องถิ่นจากเมืองโบราณยะรัง จังหวัดปัตตานี และจากศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นขุนละหาร จังหวัดนราธิวาส เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาเป็นแนวทางประยุกต์ใช้ต่อการออกแบบสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายมุสลิม จากการศึกษาวัฒนธรรมลังกาสุกะ ผลการวิจัยพบว่า ลวดลายลังกาสุกะมีรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์และศาสนาฮินดู ทั้งที่มีลวดลายที่ส่วยงามมีเอกลักษณ์เฉพาะ ลวดลายลังกาสุกะสามารถนำมาประยุกต์ในการออกแบบลวดลายผ้าบาติกได้อย่างเหมาะต่อการสวมใส่ในยุคปัจจุบัน และจากการนำผลงานมาออกแบบไปตัดเย็บชุด เพื่อแสดงผลงานและทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้คนรุ่นใหม่ ส่งผลให้คนรุ่นใหม่เริ่มสนใจต่อวัฒนธรรมลังกาสุกะ ทำให้สามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ เพราะมีผู้ให้ความสนใจและชื่นชมผลงาน คำสำคัญ: อัตลักษณ์ , ลังกาสุกะ , อาภรณ์มุสลิม , ร่วมสมัย ¹ สาขาวิชาการออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา 9000 2 สาขาศึกษาทั่วไป คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา 900 |
รายละเอียดการนำไปใช้งาน | นำไปใช้ประโยชน์ด้านการเรียนการสอน |
เอกสาร Final Paper(s) |
|
ทีมวิจัย
ที่ | นักวิจัย | หน่วยงาน | ตำแหน่งในทีม | การมีส่วนร่วม (%) |
---|---|---|---|---|
1 | อภิฤดี อนันตพันธ์ | คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย สงขลา | หัวหน้าโครงการ | 80 |
2 | ผศ. ผกากรอง เทพรักษ์ | คณะศิลปศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย สงขลา | ผู้ร่วมวิจัย | 20 |