การปรับปรุงสมบัติเชิงกลของไม้ปาล์มน้ำมัน

An Improvement Mechanical Properties of Oil Palm Wood

รายละเอียดโครงการ

ปีงบประมาณ 2558
หน่วยงานเจ้าของโครงการ
ลักษณะโครงการ โครงการใหม่
ประเภทโครงการ โครงการเดี่ยว
ประเภทงานวิจัย
วันที่เริ่มโครงการวิจัย (พ.ศ.) 1 มกราคม 2557
วันที่สิ้นสุดโครงการวิจัย (พ.ศ.) 1 มกราคม 2558
วันที่ได้รับทุนวิจัย (พ.ศ.) 1 มกราคม 2557
ประเภททุนวิจัย งบประมาณแผ่นดิน
สถานะโครงการ สิ้นสุดโครงการ(ส่งผลผลิตเรียบร้อยแล้ว)
เลขที่สัญญา
เป็นโครงการวิจัยที่ใช้ในการจบการศึกษา ไม่ใช่
เป็นโครงการวิจัยรับใช้สังคม ไม่ใช่
บทคัดย่อโครงการ บทความนี้เพื่อศึกษาการปรับปรุงสมบัติเชิงกลของไม้ปาล์มนํ้ามัน ด้วยวิธีการรีดเพื่อเพิ่มความหนาแน่น และเสริมกำลังแก่เนื้อไม้ด้วยการแช่นํ้ามันยางธรรมชาติ โดยการเก็บตัวอย่างไม้ปาล์มนํ้ามันพันธุ์ดูร่า อายุประมาณ 35 ปี นำตัวอย่างของเนื้อไม้ที่มีหน่วยนํ้าหนักน้อยกว่า 680 kg/m3มาแปรรูปให้ได้ขนาดตัวอย่างการทดสอบตามมาตรฐาน ASTM แบ่งตัวอย่างไม้ออกเป็น 3 กลุ่มคือกลุ่มที่ 1 ตัวอย่างไม้ที่ผ่านการอบ กลุ่มที่ 2 ตัวอย่างไม้ที่ผ่านการอบและรีดให้มีความหนาลดลง ร้อยละ 5, 10 และ15 ของความหนาเดิม และกลุ่มที่ 3 ตัวอย่างไม้ที่ผ่านกระบวนการรีดตามกลุ่มที่ 2 แล้วแช่นํ้ามันยางธรรมชาติอีก 15 นาที และอบที่อุณหภูมิ 80ºC เป็นเวลาอีก 8 ชั่วโมง ทำการทดสอบสมบัติเชิงกลของตัวอย่างไม้ทั้ง 3 กลุ่ม คือกำลังต้านทานแรงอัดตั้งฉากเสี้ยน ขนานเสี้ยน กำลังต้านทานแรงเฉือนขนานเสี้ยน และกำลังต้านทานแรงดัดโค้งงอ จากการทดลองพบว่าการรีดที่ร้อยละ 5 และ 10 จะทำให้สมบัติเชิงกลของไม้เพิ่มขึ้นจากตัวอย่างที่ผ่านการอบเพียงอย่างเดียว ส่วนการรีดที่ร้อยละ 15 จะทำให้ตัวอย่างไม้เกิดความเสียหาย และพบว่าตัวอย่างที่ผ่านการรีดและแช่นํ้ายางธรรมชาติ จะทำให้สมบัติเชิงกลของไม้มีค่าเพิ่มขึ้นจากตัวอย่างที่รีดเพียงอย่างเดียวทุกการรับแรง สำหรับการนำไปใช้งานจริงแนะนำให้รีดที่ร้อยละ 10 และการแช่นํ้ามันยางธรรมชาติ เนื่องจากสามารถปรับปรุงสมบัติเชิงกลของไม้ปาล์มนํ้ามันได้ดีที่สุดทุกการรับแรง
รายละเอียดการนำไปใช้งาน
เอกสาร Final Paper(s)
  • -

ทีมวิจัย

ที่ นักวิจัย หน่วยงาน ตำแหน่งในทีม การมีส่วนร่วม (%)
1รศ. จรูญ เจริญเนตรกุลคณะวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย สงขลาหัวหน้าโครงการ70
2รศ. มนัส อนุศิริคณะวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย สงขลาผู้ร่วมวิจัย10
3เฉลิม ศิริรักษ์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย สงขลาผู้ร่วมวิจัย10
4พรนรายณ์ บุญราศรีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย สงขลาผู้ร่วมวิจัย10