โครงการวิจัย
การประเมินผลการรับรู้ของนักท่องเที่ยวมุสลิมต่อการจัดการคุณภาพการให้บริการการท่องเที่ยวแบบฮาลาล ในจังหวัดกระบี่และภูเก็ต ประะเทศไทย
Evaluation of Muslim Tourists’ Perception towards Halal Tourism Service Quality Management in Krabi and Phuket, Thailand
รายละเอียดโครงการ
ปีงบประมาณ | 2559 |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ | |
ลักษณะโครงการ | โครงการใหม่ |
ประเภทโครงการ | โครงการเดี่ยว |
ประเภทงานวิจัย | โครงการประยุกต์ |
วันที่เริ่มโครงการวิจัย (พ.ศ.) | 1 ตุลาคม 2558 |
วันที่สิ้นสุดโครงการวิจัย (พ.ศ.) | 30 กันยายน 2559 |
วันที่ได้รับทุนวิจัย (พ.ศ.) | 1 ตุลาคม 2558 |
ประเภททุนวิจัย | งบประมาณแผ่นดิน |
สถานะโครงการ | สิ้นสุดโครงการ(ส่งผลผลิตเรียบร้อยแล้ว) |
เลขที่สัญญา | |
เป็นโครงการวิจัยที่ใช้ในการจบการศึกษา | ไม่ใช่ |
เป็นโครงการวิจัยรับใช้สังคม | ไม่ใช่ |
บทคัดย่อโครงการ | การรับรู้คุณภาพการให้บริการของนักท่องเที่ยวมุสลิมต่อการจัดการ การท่องเที่ยวแบบฮาลาล ในจังหวัดกระบี่และภูเก็ต ธนินทร์ สังขดวง 1 และ จิระนาถ รุ่งช่วง 2 บทคัดย่อ ศาสนาอิสลาม มีเนื้อหาหลักคำสอนที่เกี่ยวเนื่องกับพื้นฐานการใช้ชีวิต จึงมีผลโดยตรงต่อการ เดินทางท่องเที่ยวและการพักผ่อนหย่อนใจของคนมุสลิม ส่งผลให้นักท่องเที่ยวมุสลิมมีเงื่อนไขความ ต้องการที่แตกต่างจากนักท่องเที่ยวทั่วไป การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล และพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวมุสลิม 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กับการ รับรู้ระดับการให้บริการการท่องเที่ยวแบบฮาลาลของสถานที่ท่องเที่ยว สถานที่พักแรม และภัตตาคาร 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ระดับการให้บริการการท่องเที่ยวแบบฮาลาล กับการกลับมาใช้ บริการซ้ำและการบอกต่อแบบปากต่อปาก เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่าง นักท่องเที่ยวมุสลิมทั้งชาวไทยและต่างชาติ จ านวน 400 ตัวอย่าง ในจังหวัดกระบี่และภูเก็ต ผล การศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ร้อยละ 92.5 เลือกใช้สถานประกอบการทั้งประเภทที่ให้บริการ ฮาลาลเต็มรูปแบบ และประเภทที่ให้บริการฮาลาลเฉพาะพื้นที่บางส่วน ขณะที่ปัจจัยส่วนบุคคลมีผล ต่อการรับรู้ระดับการให้บริการ และการรับรู้ระดับการให้บริการมีผลต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำและ การบอกต่อแบบปากต่อปากอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งจากผลวิจัยนำไปสู่ข้อเสนอแนะ 1) ผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในพื้นที่ควรให้ความสำคัญกับกลุ่ม นักท่องเที่ยวมุสลิม 2) ควรหาแนวทางและกระบวนการในการรับรองมาตรฐานการบริการการ ท่องเที่ยวฮาลาล และการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับมุสลิม คำสำคัญ: การให้บริการ นักท่องเที่ยวมุสลิม การท่องเที่ยวแบบฮาลาล |
รายละเอียดการนำไปใช้งาน | |
เอกสาร Final Paper(s) |
|
ทีมวิจัย
ที่ | นักวิจัย | หน่วยงาน | ตำแหน่งในทีม | การมีส่วนร่วม (%) |
---|---|---|---|---|
1 | ธนินทร์ สังขดวง | คณะศิลปศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย สงขลา | หัวหน้าโครงการ | 65 |
2 | จิระนาถ รุ่งช่วง | คณะอุตสาหกรรมเกษตร ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช | ผู้ร่วมวิจัย | 35 |