การดองปลิงทะเลกาหมาด และฤทธิ์ทางชีวภาพของปลิงทะเลกาหมาด และฤทธิ์ทางชีวภาพของปลิงทะเลกาหมาดที่ผ่านการดองเพื่อความปลอดภัยในการบริโภค

The preservation of gamat (Stichopus horrens) and bilolgical activity on gamat (Stichopus horrens) of For the safety of consumers

รายละเอียดโครงการ

ปีงบประมาณ 2560
หน่วยงานเจ้าของโครงการ
ลักษณะโครงการ โครงการใหม่
ประเภทโครงการ โครงการเดี่ยว
ประเภทงานวิจัย
วันที่เริ่มโครงการวิจัย (พ.ศ.)
วันที่สิ้นสุดโครงการวิจัย (พ.ศ.)
วันที่ได้รับทุนวิจัย (พ.ศ.)
ประเภททุนวิจัย งบประมาณแผ่นดิน
สถานะโครงการ สิ้นสุดโครงการ(ส่งผลผลิตเรียบร้อยแล้ว)
เลขที่สัญญา
เป็นโครงการวิจัยที่ใช้ในการจบการศึกษา ไม่ใช่
เป็นโครงการวิจัยรับใช้สังคม ไม่ใช่
บทคัดย่อโครงการ การดองปลิงทะเลกาหมาด และฤทธิ์ทางชีวภาพของปลิงทะเลกาหมาดที่ผ่าน การดองเพื่อความปลอดภัยในการบริโภค การดองปลิงทะเลกาหมาดและฤทธิ์ทางชีวภาพของปลิงทะเลกาหมาดที่ผ่านการ ดองเพื่อความปลอดภัยในการบริโภค ชุตินุช สุจริต1 ลักษมี วิทยา2 และ นรารัตน์ จุลสมัย3 บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดองปลิงทะเลกาหมาด (Stichopus horrens) และการประยุกต์ใช้ในอาหาร พบว่า องค์ประกอบทางเคมีของปลิงทะเลกาหมาดก่อนการดอง มีปริมาณความชื้น เถ้า โปรตีน และไขมัน มี (ร้อยละ) พบว่ามีโปรตีน ไขมัน เถ้า ไฟเบอร์ ความชื้น (กรัมต่อ100กรัม) เท่ากับ 7.79 , 2.15, 30.06, 165, 11.04 ตามลำดับ ปลิงกาหมาดมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต พบกรดอะมิโนไกลซีน สูง เท่ากับ 8.63 มิลลิกรัมต่อ100 มิลลิกรัม และ กรดกลูตามิก เท่ากับ 7.85 กรัมต่อ100 กรัม นำปลิงทะเลกาหมาดมายืดอายุโดยการดองในน้ำผึ้ง น้ำตาลโตนด และน้ำตาลอ้อย เป็นระยะเวลา 3 เดือน พบว่าปลิงทะเลกาหมาดดองกับน้ำผึ้งร่วงได้ผลดีที่สุดจากการดูลักษณะปรากฏ และการทดสอบปริมาณความหวานที่เข้าเนื้อปลิงทะเล โดยน้ำผึ้งก่อนดองจะให้ความหวานอยู่ที่ 74 องศาบริกซ์ หลังดองได้ 43 องศาบริกซ์ หลังจากนั้นนำมาการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของปลิงทะเลกาหมาดดองน้ำผึ้งมีปริมาณความชื้น เถ้า โปรตีน และไขมัน มี (ร้อยละ) ค่าเท่ากับ 65.70, 2.16, 24.87 และ 0.50 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ได้มีการศึกษานำปลิงแห้งทะเลกาหมาดนำมาศึกษาในการแปรรูปเป็นซุปปลิงทะเลกาหมาด จากการทดสอบคุณภาพทางด้านประสาทสัมผัสของผู้บริโภคโดยผลการทดลองน้ำซุปทั้ง 4 สูตร คือ สูตรควบคุม สูตรที่ใช้อัตราส่วนปลิงทะเล50กรัม สูตรที่ใช้อัตราส่วนปลิงทะเล100กรัมและสูตรที่ใช้อัตราส่วนปลิงทะเล150กรัม ทดสอบผู้บริโภคด้านประสาทสัมผัสโดยสรุปได้ว่าผู้บริโภคจะให้การยอมรับสูตรที่ใช้อัตราส่วนปลิงทะเล100กรัมมากที่สุดคือ 8.73±0.88a คะแนน สามารถเก็บไว้ได้นาน กว่า 45 วัน ที่อุณหภูมิห้อง เมื่อนำน้ำปลิงและปลิงที่ดองในน้ำผึ้งมาทำสบู่ก้อนและสบู่เหลว พบว่า สบู่ก้อนที่มีการผสมน้ำปลิงที่ดองในน้ำผึ้งยับยั้งการเกิดเคลียร์โซ 0.2 เซนติเมตร ในการทดสอบเชื้อ Staphylococcus aureus ที่ระดับ 10 -1 ลักษณะปรากฏมีสีมันวาวใสออกเหลืองทอง มีฟองปานกลาง ความเป็นกรด-ด่าง 6.9 และเปอร์เซ็นต์การกัดกร่อน เท่ากับ 0.8 เมื่อนำมาทดสอบหาฤทธิทางชีวภาพในการดองปลิงด้วยน้ำผึ้ง เหล้าขาว พบว่า ปลิงทะเลที่สกัดด้วยเหล้าขาว ให้สาระสำคัญมากที่สุดคือ เทอร์พีนอยด์ ฟลาโวนอยด์ แทนนินและ แอลคาลอยด์ รองลงมาคือเอทิลอะซิเตท มีเฉพาะแอนทราควิโนนกับซาโปนิน ขณะที่สารสกัดจากน้ำผึ้ง ไม่พบสารสำคัญ ผลการนำทดสอบฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งเต้านมกับเซลล์มะเร็งปอดผล พบว่าสารสกัดปลิงทะเลทั้ง 4 ซึ่งได้แก่ ปลิงที่สกัดด้วยน้ำผึ้ง ปลิงสกัดด้วยเอทิลอะซีเตท ปลิงที่สกัดด้วยเหล้าขาว และ ปลิงที่สกัดด้วยเมทานอล ซึ่งเป็นสารสกัดหยาบไม่ออกฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งทั้ง 2 ชนิด คำสำคัญ : ปลิงทะเลกาหมาด , ซุปปลิง สบู่ และ ฤทธิ์ทางชีวภาพ 1 สาชาอุตสาหกรรมอาหารและผลิตภัณฑ์ประมง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ตรัง, 92150 , 2 สาชากายภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ตรัง, 92150, 3 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยกระบี 91 หมู่ 9 ตำบลคองท่อมใต้ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ 81120 การดองปลิงทะเลกาหมาด และฤทธิ์ทางชีวภาพของปลิงทะเลกาหมาดที่ผ่าน การดองเพื่อความปลอดภัยในการบริโภค การดองปลิงทะเลกาหมาดและฤทธิ์ทางชีวภาพของปลิงทะเลกาหมาดที่ผ่านการ ดองเพื่อความปลอดภัยในการบริโภค ชุตินุช สุจริต1 ลักษมี วิทยา2 และ นรารัตน์ จุลสมัย3 บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดองปลิงทะเลกาหมาด (Stichopus horrens) และการประยุกต์ใช้ในอาหาร พบว่า องค์ประกอบทางเคมีของปลิงทะเลกาหมาดก่อนการดอง มีปริมาณความชื้น เถ้า โปรตีน และไขมัน มี (ร้อยละ) พบว่ามีโปรตีน ไขมัน เถ้า ไฟเบอร์ ความชื้น (กรัมต่อ100กรัม) เท่ากับ 7.79 , 2.15, 30.06, 165, 11.04 ตามลำดับ ปลิงกาหมาดมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต พบกรดอะมิโนไกลซีน สูง เท่ากับ 8.63 มิลลิกรัมต่อ100 มิลลิกรัม และ กรดกลูตามิก เท่ากับ 7.85 กรัมต่อ100 กรัม นำปลิงทะเลกาหมาดมายืดอายุโดยการดองในน้ำผึ้ง น้ำตาลโตนด และน้ำตาลอ้อย เป็นระยะเวลา 3 เดือน พบว่าปลิงทะเลกาหมาดดองกับน้ำผึ้งร่วงได้ผลดีที่สุดจากการดูลักษณะปรากฏ และการทดสอบปริมาณความหวานที่เข้าเนื้อปลิงทะเล โดยน้ำผึ้งก่อนดองจะให้ความหวานอยู่ที่ 74 องศาบริกซ์ หลังดองได้ 43 องศาบริกซ์ หลังจากนั้นนำมาการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของปลิงทะเลกาหมาดดองน้ำผึ้งมีปริมาณความชื้น เถ้า โปรตีน และไขมัน มี (ร้อยละ) ค่าเท่ากับ 65.70, 2.16, 24.87 และ 0.50 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ได้มีการศึกษานำปลิงแห้งทะเลกาหมาดนำมาศึกษาในการแปรรูปเป็นซุปปลิงทะเลกาหมาด จากการทดสอบคุณภาพทางด้านประสาทสัมผัสของผู้บริโภคโดยผลการทดลองน้ำซุปทั้ง 4 สูตร คือ สูตรควบคุม สูตรที่ใช้อัตราส่วนปลิงทะเล50กรัม สูตรที่ใช้อัตราส่วนปลิงทะเล100กรัมและสูตรที่ใช้อัตราส่วนปลิงทะเล150กรัม ทดสอบผู้บริโภคด้านประสาทสัมผัสโดยสรุปได้ว่าผู้บริโภคจะให้การยอมรับสูตรที่ใช้อัตราส่วนปลิงทะเล100กรัมมากที่สุดคือ 8.73±0.88a คะแนน สามารถเก็บไว้ได้นาน กว่า 45 วัน ที่อุณหภูมิห้อง เมื่อนำน้ำปลิงและปลิงที่ดองในน้ำผึ้งมาทำสบู่ก้อนและสบู่เหลว พบว่า สบู่ก้อนที่มีการผสมน้ำปลิงที่ดองในน้ำผึ้งยับยั้งการเกิดเคลียร์โซ 0.2 เซนติเมตร ในการทดสอบเชื้อ Staphylococcus aureus ที่ระดับ 10 -1 ลักษณะปรากฏมีสีมันวาวใสออกเหลืองทอง มีฟองปานกลาง ความเป็นกรด-ด่าง 6.9 และเปอร์เซ็นต์การกัดกร่อน เท่ากับ 0.8 เมื่อนำมาทดสอบหาฤทธิทางชีวภาพในการดองปลิงด้วยน้ำผึ้ง เหล้าขาว พบว่า ปลิงทะเลที่สกัดด้วยเหล้าขาว ให้สาระสำคัญมากที่สุดคือ เทอร์พีนอยด์ ฟลาโวนอยด์ แทนนินและ แอลคาลอยด์ รองลงมาคือเอทิลอะซิเตท มีเฉพาะแอนทราควิโนนกับซาโปนิน ขณะที่สารสกัดจากน้ำผึ้ง ไม่พบสารสำคัญ ผลการนำทดสอบฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งเต้านมกับเซลล์มะเร็งปอดผล พบว่าสารสกัดปลิงทะเลทั้ง 4 ซึ่งได้แก่ ปลิงที่สกัดด้วยน้ำผึ้ง ปลิงสกัดด้วยเอทิลอะซีเตท ปลิงที่สกัดด้วยเหล้าขาว และ ปลิงที่สกัดด้วยเมทานอล ซึ่งเป็นสารสกัดหยาบไม่ออกฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งทั้ง 2 ชนิด คำสำคัญ : ปลิงทะเลกาหมาด , ซุปปลิง สบู่ และ ฤทธิ์ทางชีวภาพ 1 สาชาอุตสาหกรรมอาหารและผลิตภัณฑ์ประมง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ตรัง, 92150 , 2 สาชากายภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ตรัง, 92150, 3 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยกระบี 91 หมู่ 9 ตำบลคองท่อมใต้ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ 81120
รายละเอียดการนำไปใช้งาน
เอกสาร Final Paper(s)
  • -

ทีมวิจัย

ที่ นักวิจัย หน่วยงาน ตำแหน่งในทีม การมีส่วนร่วม (%)
1รศ.ดร. ชุตินุช สุจริตคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรังหัวหน้าโครงการ70
2ลักษมี วิทยาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรังผู้ร่วมวิจัย20