โครงการวิจัย
กระถางชำจากกากกาแฟร่วมกับขี้เลื่อยไม้ยางพารา
Plant pots from Co-Production of Spent Coffee Grounds mixed with Rubber Wood Sawdust
รายละเอียดโครงการ
ปีงบประมาณ | 2560 |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ | |
ลักษณะโครงการ | โครงการใหม่ |
ประเภทโครงการ | โครงการเดี่ยว |
ประเภทงานวิจัย | |
วันที่เริ่มโครงการวิจัย (พ.ศ.) | |
วันที่สิ้นสุดโครงการวิจัย (พ.ศ.) | |
วันที่ได้รับทุนวิจัย (พ.ศ.) | |
ประเภททุนวิจัย | งบประมาณแผ่นดิน |
สถานะโครงการ | สิ้นสุดโครงการ(ส่งผลผลิตเรียบร้อยแล้ว) |
เลขที่สัญญา | |
เป็นโครงการวิจัยที่ใช้ในการจบการศึกษา | ไม่ใช่ |
เป็นโครงการวิจัยรับใช้สังคม | ไม่ใช่ |
บทคัดย่อโครงการ | กระถางเพาะชำจากกากกาแฟ ปูนขาวจากเปลือกหอย และขี้เลื่อยไม้ยางพารา วรรณวิภา ไชยชาญ1 วีระศักดิ์ ไชยชาญ2 และ เอนก สาวะอินทร์1 บทคัดย่อ การผลิตกระถางเพาะชำจากกากกาแฟ ปูนขาวจากเปลือกหอย และขี้เลื่อยไม้ยางพารา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางกายภาพ ทางเคมีของวัตถุดิบและกระถางเพาะชำ ศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการขึ้นรูป และประสิทธิภาพของกระถางเพาะชำระหว่างการเพาะชำกล้าพืช อัตราส่วนของกากกาแฟ:ปูนขาวจากเปลือกหอย:ขี้เลื่อยไม้ยางพารา เท่ากับ 3:0:0, 0:3:0, 0:0:3, 1.5:1.5:0, 1.5:0:1.5, 0:1.5:1.5 และ 1:1:1 และกาวแป้งเปียกเป็นวัสดุประสาน แต่ละอัตราส่วนจะขึ้นรูปโดยใช้อัตราส่วนวัตถุดิบ:วัสดุประสาน เท่ากับ 1:0.70, 1:0.85, 1:10, 1:1.15, 1:1.30, 1:1.45, 1:1.60, 1:1.75 และ 1:1.90 ขึ้นรูปกระถางโดยใช้เครื่องอัดกระถางแบบอัตโนมัติ ใช้แรงอัดช่วง 1,600-1,800 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ผลการวิจัย พบว่า วัตถุดิบยังมีธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืชและปริมาณอินทรียวัตถุหลงเหลืออยู่ สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกระถางเพาะชำได้ ผลการอัดขึ้นรูปกระถางเพาะชำ แสดงให้เห็นว่า ที่อัตราส่วนกากกาแฟ:ปูนขาว:ขี้เลื่อยไม้ยางพารา เท่ากับ 1.5:1.5:0 ขึ้นรูปได้ดีกว่าอัตราส่วนอื่น โดยขึ้นรูปได้ในช่วงอัตราส่วนวัตถุดิบ:วัสดุประสาน เท่ากับ 1:0.70 ถึง 1:1.75 ผลการศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของกระถางเพาะชำ พบว่า กระถางเพาะชำที่ผลิตได้ทุกอัตราส่วน มีความเป็นด่าง กระถางเพาะชำมีปริมาณอินทรียวัตถุ ปริมาณธาตุอาหารและองค์ประกอบทางเคมีต่าง ๆ ในปริมาณที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช นอกจากนี้ กระถางเพาะชำที่มีการผสมขี้เลื่อยจะมีความชื้น การดูดซับน้ำและการพองตัวมากกว่า ซึ่งจะส่งผลต่ออัตราส่วนเร็วในการย่อยสลายของกระถางเพาะชำ กระถางที่ผลิตได้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง การผลิตกระถางเพาะชำจากเศษวัสดุอินทรีย์ที่ผลิตได้นับเป็นทางเลือกที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศษวัสดุ และเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คำสำคัญ: กระถางเพาะชำ กากกาแฟ ปูนขาวจากเปลือกหอย ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 1 อาจารย์ สาขาสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อ.สิเกา จ.ตรัง 2 อาจารย์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อ.สิเกา จ.ตรัง |
รายละเอียดการนำไปใช้งาน | |
เอกสาร Final Paper(s) |
|
ทีมวิจัย

หัวหน้าโครงการ
ที่ | นักวิจัย | หน่วยงาน | ตำแหน่งในทีม | การมีส่วนร่วม (%) |
---|---|---|---|---|
1 | วรรณวิภา ไชยชาญ | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง | หัวหน้าโครงการ | 60 |
2 | ผศ. เอนก สาวะอินทร์ | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง | ผู้ร่วมวิจัย | 10 |
3 | วีระศักดิ์ ไชยชาญ | คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง | ผู้ร่วมวิจัย | 30 |