การพัฒนาการย้อมผ้าฝ้ายจากเชื้อราข้าวแดงเพื่อยับยั้งแบคทีเรียและต้านรังสียูวี

Development of cotton fabrics dyeing using red yeast rice for andtibacterial and UV protecction

รายละเอียดโครงการ

ปีงบประมาณ 2561
หน่วยงานเจ้าของโครงการ
ลักษณะโครงการ โครงการใหม่
ประเภทโครงการ โครงการเดี่ยว
ประเภทงานวิจัย
วันที่เริ่มโครงการวิจัย (พ.ศ.) 1 มกราคม 2560
วันที่สิ้นสุดโครงการวิจัย (พ.ศ.) 1 มกราคม 2561
วันที่ได้รับทุนวิจัย (พ.ศ.) 1 มกราคม 2560
ประเภททุนวิจัย งบประมาณรายได้
สถานะโครงการ สิ้นสุดโครงการ(ส่งผลผลิตเรียบร้อยแล้ว)
เลขที่สัญญา
เป็นโครงการวิจัยที่ใช้ในการจบการศึกษา ไม่ใช่
เป็นโครงการวิจัยรับใช้สังคม ไม่ใช่
บทคัดย่อโครงการ วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้เพื่อพัฒนาการย้อมผ้าฝ้ายโดยใช้ราข้าวแดงหรือโมแนสคัส (Monascus spp.) สารช่วยติดสีที่ใช้ในการย้อมผ้าฝ้าย คือ อะลูมิเนียมโพแทสเซียมซัลเฟตหรือสารส้ม (KAl(SO4)2.12H2O) การย้อมใช้วิธีการใช้สารช่วยติดสีพร้อมกับการย้อมสี (Meta-mordanting) ทำการทดสอบความคงทนของสีต่อการซัก น้ำ เหงื่อ และแสง ตามมาตรฐาน (AATCC) และได้ศึกษาการต้านรังสียูวีของผ้าฝ้ายด้วยการคำนวณค่าการต้านรังสียูวี (Ultraviolet protection factor, UPF) องค์ประกอบทางเคมีที่มีอยู่ในสีย้อมราข้าวแดงได้วิเคราะห์คุณลักษณะด้วยเทคนิคอินฟราเรด (Fourier-transform infrared spectroscopy) การยับยั้งแบคทีเรียของผ้าย้อมทดสอบด้วยเชื้อ Staphylococcus aureus และ Escherichia coli ผลการย้อมราข้าวแดงใช้สารส้มปรับพีเอชเท่ากับ 7 สามารถยับยั้งแบคทีเรียได้ร้อยละ 69 และ 97 ตามลำดับ ในเวลา 2 ชั่วโมง ลักษณะของสีผ้าที่ย้อมด้วยราข้าวแดงมีสีน้ำตาลในขณะเดียวกันที่ใช้สารช่วยติดสีที่เป็นสารส้มจะมีสีน้ำตาลแดงเข้ม ผลการทดลองความคงทนของสีย้อมผ้าฝ้ายมีความคงทนของสีต่อการซัก เหงื่อ น้ำ และแสงอยู่ในระดับปานกลางถึงดี การต้านรังสียูวีอยู่ในระดับค่าสูงสุด สารที่สกัดได้จากราข้าวแดงมีส่วนประกอบสารที่อยู่ในกลุ่มซิตรินิน (C13H14O5) ซึ่งราข้าวแดงก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่สามารถใช้ในการย้อมผ้าฝ้ายและในการผลิตสีย้อมผ้าอีกด้วย คำสำคัญ : ราข้าวแดง / สีย้อมธรรมชาติ / ความคงทนของสี / ผ้าฝ้าย
รายละเอียดการนำไปใช้งาน
เอกสาร Final Paper(s)
  • -

ทีมวิจัย

ที่ นักวิจัย หน่วยงาน ตำแหน่งในทีม การมีส่วนร่วม (%)
1ดร. มาหามะสูไฮมี มะแซคณะวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย สงขลาหัวหน้าโครงการ70
2ผศ. พิชญา พิศสุวรรณคณะวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย สงขลาผู้ร่วมวิจัย30