ปีงบประมาณ |
2561 |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ |
|
ลักษณะโครงการ |
โครงการใหม่ |
ประเภทโครงการ |
โครงการเดี่ยว |
ประเภทงานวิจัย |
|
วันที่เริ่มโครงการวิจัย (พ.ศ.) |
1 มกราคม 2560 |
วันที่สิ้นสุดโครงการวิจัย (พ.ศ.) |
1 มกราคม 2561 |
วันที่ได้รับทุนวิจัย (พ.ศ.) |
1 มกราคม 2560 |
ประเภททุนวิจัย |
งบประมาณรายได้ |
สถานะโครงการ |
สิ้นสุดโครงการ(ส่งผลผลิตเรียบร้อยแล้ว) |
เลขที่สัญญา | |
เป็นโครงการวิจัยที่ใช้ในการจบการศึกษา |
ไม่ใช่ |
เป็นโครงการวิจัยรับใช้สังคม |
ไม่ใช่ |
บทคัดย่อโครงการ |
ปัจจุบันผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมมือกันเพื่อให้การคุ้มครองและสนับสนุนสถานภาพ บทบาท และกิจกรรมของผู้สูงอายุของประเทศไทยให้ก้าวสู่สังคมผู้สูงวัย อย่างไรก็ตามผู้สูงอายุก็ยังคงเผชิญปัญหาเข้าถึงสวัสดิการของรัฐและยังมีความต้องการในสวัสดิการสังคมอย่างต่อเนื่อง. การศึกษาความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ ตำบลพะวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการวางแผนพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมให้กับผู้สูงอายุ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยการใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุ จำนวน 206 คน ในตำบลพะวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ระหว่างเดือนมกราคม 2561 – เดือนมีนาคม 2561 และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงปริมาณด้วยสถิตเชิงพรรณนา
ผลการศึกษาความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ ตามข้อกำหนดของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 7 ด้าน พบว่า ความต้องการของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับมาก คือต้องการความมั่นคงของรายได้ (x̄=4.16), ความต้องการบริการสังคมทั่วไป (x̄=3.90), ความต้องการมีงานทำ รายได้ และสวัสดิการแรงงาน (x̄=3.86), ความต้องการนันทนาการ (x̄=3.54), ความต้องการการศึกษา (x̄=3.52), ความต้องการที่อยู่อาศัย (x̄=3.42), และความต้องการสุขอนามัย (x̄=3.04) ตามลำดับ ดังนั้นการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุของหน่วยงานภาครัฐจึงควรสนับสนุนผู้สูงอายุในการประกอบอาชีพอย่างเหมาะสมและมั่นคง. การส่งเสริมการนันทนาการโดยการสนับสนุนให้มีการสร้างเครือข่ายของผู้สูงอายุ และให้การศึกษาและการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตกับผู้สูงอายุ สิ่งเหล่านี้คือแนวทางในการพัฒนาสวัสดิการให้กับผู้สูงอายุ
คำสำคัญ: ความต้องการ, สวัสดิการสังคม, ผู้สูงอายุ
|
รายละเอียดการนำไปใช้งาน |
|
เอกสาร Final Paper(s) |
|