โครงการวิจัย
การผลิตถ่านอัดแท่งจากเปลือกต้นสาคู
The Production of Charcoal from Sago Bark
รายละเอียดโครงการ
ปีงบประมาณ | 2561 |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ | |
ลักษณะโครงการ | โครงการใหม่ |
ประเภทโครงการ | โครงการเดี่ยว |
ประเภทงานวิจัย | |
วันที่เริ่มโครงการวิจัย (พ.ศ.) | 1 มกราคม 2560 |
วันที่สิ้นสุดโครงการวิจัย (พ.ศ.) | 1 มกราคม 2561 |
วันที่ได้รับทุนวิจัย (พ.ศ.) | 1 มกราคม 2560 |
ประเภททุนวิจัย | งบประมาณรายได้ |
สถานะโครงการ | สิ้นสุดโครงการ(ส่งผลผลิตเรียบร้อยแล้ว) |
เลขที่สัญญา | |
เป็นโครงการวิจัยที่ใช้ในการจบการศึกษา | ไม่ใช่ |
เป็นโครงการวิจัยรับใช้สังคม | ไม่ใช่ |
บทคัดย่อโครงการ | งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาและพัฒนาการผลิตถ่านอัดแท่งจากเปลือกต้นสาคู มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติความเหมาะสมของเปลือกต้นสาคูต่อการใช้เป็นวัสดุการผลิตและหาอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมต่อการอัดขึ้นรูปเป็นถ่านอัดแท่ง มีขั้นตอนหลักในการผลิต 3 ขั้นตอน คือ การเผาถ่าน การบดผงถ่าน และการอัดขึ้นรูปเป็นถ่านอัดแท่ง โดยนำเปลือกต้นสาคูที่เหลือจากการผลิตแป้งในชุมชนมาเผาให้เป็นถ่านด้วยเตา 200 ลิตร บดให้ละเอียดเป็นผงถ่าน นำตัวอย่างผงถ่านเข้าทดสอบคุณสมบัติในห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ASTM เพื่อหาคุณสมบัติความเหมาะสมเบื้องต้น ได้ผลดังนี้ ค่าความชื้น 6.03 % เถ้า 9.11 ปริมาณคาร์บอนคงตัว 66.61 % สารระเหยได้ 24.28 % จากนั้นนำผงถ่านไปหาอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมในการอัดขึ้นรูปด้วยอัตราส่วนผสมต่างๆ ระหว่างผงถ่านเปลือกต้นสาคู ตัวประสาน(แป้งมันสำปะหลัง) และน้ำ พบว่าอัตราส่วนที่เหมาะสมขององค์ประกอบที่ได้กำหนดไว้ ได้แก่ ผงถ่าน แป้งมันสำปะหลัง และน้ำ คือ 1 : 1 : 0.50 (โดยน้ำหนัก) ถ่านอัดแท่งที่ได้มีลักษณะทางกายภาพตามรูปทรงที่ต้องการ หน้าตัดรูปหกเหลี่ยม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เซนติเมตร ยาว 10 เซนติเมตร อัดขึ้นรูปได้ง่าย เกาะตัวกันแน่น ไม่มีรอยแตกร้าว จากนั้นนำไปลดความชื้นด้วยการตากแดดเป็นเวลา 16 ชั่วโมง (2 วัน) ทดสอบระยะจุดติดไฟ ระยะการมอดดับ และปริมาณเถ้าถ่าน จากนั้นนำตัวอย่างถ่านอัดแท่งเข้าทดสอบคุณสมบัติในห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ASTM ได้ผลดังนี้ ค่าความชื้น 23.87 % เถ้า 13.68 ปริมาณคาร์บอนคงตัว 51.68 % ค่าความจุความร้อน 5,649 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัม สารระเหยได้ 34.64 % ผลจากการทดสอบคุณสมบัติของถ่านอัดแท่งจากเปลือกต้นสาคูเมื่อนำไปเปรียบเทียบคุณสมบัติทางเชื้อเพลิงกับวัสดุอื่นๆ ที่นิยมนำมาแปรรูปเป็นถ่านอัดแท่ง สรุปได้ว่าเปลือกต้นสาคูมีคุณสมบัติที่เหมาะสมในการใช้เป็นวัสดุในการผลิตถ่านอัดแท่ง สามารถทำการผลิตเพื่อใช้ในครัวเรือนและพัฒนาสู่การผลิตเพื่อสร้างรายได้แก่ชุมชนได้ คำสำคัญ : ถ่านอัดแท่ง , ถ่านอัดแท่งจากเปลือกต้นสาคู |
รายละเอียดการนำไปใช้งาน | |
เอกสาร Final Paper(s) |
|
ทีมวิจัย

หัวหน้าโครงการ
ที่ | นักวิจัย | หน่วยงาน | ตำแหน่งในทีม | การมีส่วนร่วม (%) |
---|---|---|---|---|
1 | เสริมศักดิ์ เกิดวัน | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช | หัวหน้าโครงการ | 60 |
2 | รุ่งโรจน์ จีนด้วง | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช | ผู้ร่วมวิจัย | 20 |
3 | สุธาพร เกตุพันธ์ | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช | ผู้ร่วมวิจัย | 20 |