โครงการวิจัย
การศึกษาความเป็นมา รูปแบบและแนวทางอนุรักษ์ลิเกป่าคณะถาวรสุนทรศิลป์บ้านพรุจูด ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
The Study of background,types and the war of the conservation of Local of likapa kanatavonsuntornsin borhin villagers in sikuo trang
รายละเอียดโครงการ
ปีงบประมาณ | 2561 |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ | |
ลักษณะโครงการ | โครงการใหม่ |
ประเภทโครงการ | โครงการเดี่ยว |
ประเภทงานวิจัย | โครงการประยุกต์ |
วันที่เริ่มโครงการวิจัย (พ.ศ.) | 1 ตุลาคม 2560 |
วันที่สิ้นสุดโครงการวิจัย (พ.ศ.) | 30 กันยายน 2561 |
วันที่ได้รับทุนวิจัย (พ.ศ.) | 1 มกราคม 2560 |
ประเภททุนวิจัย | งบประมาณรายได้ |
สถานะโครงการ | สิ้นสุดโครงการ(ส่งผลผลิตเรียบร้อยแล้ว) |
เลขที่สัญญา | |
เป็นโครงการวิจัยที่ใช้ในการจบการศึกษา | ไม่ใช่ |
เป็นโครงการวิจัยรับใช้สังคม | ไม่ใช่ |
บทคัดย่อโครงการ | บทคัดย่อ การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาและรูปแบบของการแสดงลิเกป่าคณะถาวรสุนทรศิลป์บ้านพรุจูด ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง 2) เพื่อส่งเสริมอนุรักษ์ศิลปะแสดงลิเกป่าคณะถาวรสุนทรศิลป์บ้านพรุจูด ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการอนุรักษ์การแสดงลิเกป่าอย่างเหมาะสม โดยการเก็บข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการประกอบกับการสังเกตการณ์และการสัมภาษณ์เชิงลึกสมาชิกวงลิเกป่าถาวรสุนทรศิลป์จำนวน 10 คน ผู้เข้าชมจำนวน 30 คน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 5 คน ผลจากการศึกษาพบว่าลิเกป่าคณะถาวรสุนทรศิลป์ ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษโดยใช้ชื่อในการแสดงครั้งแรกว่า “คณะลิเกแดงตรัง” ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นคณะกิจจาเกสรสุนทรศิลป์ และคณะถาวรสุนทรศิลป์จนถึงปัจจุบัน ส่วนรูปแบบการแสดงเริ่มต้นด้วยการไหว้ครู การออกแขกแดง การดำเนินเรื่อง และการส่งครู องค์ประกอบการแสดงประกอบไปด้วยคณะลิเกป่า เครื่องแต่งกาย เครื่องดนตรี ความเชื่อพิธีกรรม โอกาสในการแสดง ส่วนแนวทางในการอนุรักษ์ลิเกป่าบ้านพรุจูดนั้นจำเป็นต้องอนุรักษ์รูปแบบการแสดงทั้งนี้ควรเริ่มต้นจากเจ้าของคณะและสมาชิกในวงก่อนเนื่องจากเป็นผู้รู้โดยต้องมีความตระหนักและเข้าใจระบบในการอนุรักษ์ หน่วยงานในภาครัฐควรสนับสนุนให้มีโอกาสได้แสดงในงานต่างๆอีกทั้งควรพัฒนาการเรียนการสอนแบบเรียนในหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อให้เยาวชนเกิดความภาคภูมิใจในศิลปะการแสดงของท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์ในระยะยาวต่อไป คำสำคัญ: ลิเกป่า,การอนุรักษ์, รูปแบบ, |
รายละเอียดการนำไปใช้งาน | |
เอกสาร Final Paper(s) |
|
ทีมวิจัย
ที่ | นักวิจัย | หน่วยงาน | ตำแหน่งในทีม | การมีส่วนร่วม (%) |
---|---|---|---|---|
1 | อัครเดช ศิวรักษ์ | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง | หัวหน้าโครงการ | 80 |
2 | ผศ. เอนก สาวะอินทร์ | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง | ผู้ร่วมวิจัย | 20 |