โครงการวิจัย
การผลิตแผ่นประกอบจากเศษกระจูดเหลือใช้สำหรับงานหัตถกรรมในชุมชนทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง
Production of composite board from the waste of Lepironia articulate for handicraft inThale Noi community, Phatthalung province
รายละเอียดโครงการ
ปีงบประมาณ | 2561 |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ | |
ลักษณะโครงการ | โครงการใหม่ |
ประเภทโครงการ | โครงการเดี่ยว |
ประเภทงานวิจัย | |
วันที่เริ่มโครงการวิจัย (พ.ศ.) | 1 มกราคม 2560 |
วันที่สิ้นสุดโครงการวิจัย (พ.ศ.) | 1 มกราคม 2561 |
วันที่ได้รับทุนวิจัย (พ.ศ.) | 1 มกราคม 2560 |
ประเภททุนวิจัย | งบประมาณแผ่นดิน |
สถานะโครงการ | สิ้นสุดโครงการ(ส่งผลผลิตเรียบร้อยแล้ว) |
เลขที่สัญญา | |
เป็นโครงการวิจัยที่ใช้ในการจบการศึกษา | ไม่ใช่ |
เป็นโครงการวิจัยรับใช้สังคม | ไม่ใช่ |
บทคัดย่อโครงการ | การศึกษามีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาอัตราส่วนระหว่างกาวสังเคราะห์ไอโซไซยาเนต กับเศษกระจูดเหลือใช้ เวลาในการอัดขึ้นรูปร้อนที่เหมาะสมของแผ่นวัสดุผสมจากของเสียเหลือใช้จากงานหัตถกรรมกระจูด และเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพของแผ่นวัสดุผสมจากของเสียเหลือใช้จากงานหัตถกรรมกระจูดกับมาตรฐานอุตสาหกรรมแผ่นชิ้นไม้อัดชนิดอัดราบ : ความหนาแน่นปานกลางตาม มอก. 876-2547 โดยใช้เศษกระจูดเหลือใช้จากงานหัตถกรรมกระจูด มาตัดย่อยเป็นชิ้นเล็ก ๆ ขนาด 12.5-25.0 มิลลิเมตร ผสมกับกาวสังเคราะห์ไอโซไซยาเนต ในอัตราส่วนต่าง ๆ โดยใช้กาว 5 7 และ 9% แล้วนำไปขึ้นรูปด้วยกระบวนการอัดขึ้นรูปร้อน แรงดันที่ใช้ 150 kg/cm2 อุณหภูมิ 120 oC เวลาที่ใช้ 5 10 และ 15 นาที ชิ้นงานตัวอย่างจะมีขนาด 300×300×6 มิลลิเมตร และ 300×300×10 มิลลิเมตร จากนั้นทำการทดสอบ ความหนาแน่น ความชื้น การพองตัวตามผิวหน้า ความแข็งแรงดัด มอดูลัสยืดหยุ่น และความต้านแรงดึงตั้งฉากกับผิวหน้า ตามมาตรฐาน มอก. 876-542547 จากการทดสอบพบว่าชิ้นงานความหนา 6 มิลลิเมตร ปริมาณกาวสังเคราะห์ไอโซไซยาเนต 9% เวลาในการอัดขึ้นรูปร้อน 10 นาที ผ่านเกณฑ์กำหนดมาตรฐานมาตรฐานมอก. 876-542547 และชิ้นงานขนาดความหนา 10 มิลลิเมตร ปริมาณกาวสังเคราะห์ไอโซไซยาเนต 9% เวลาในการอัดขึ้นรูปร้อน 10 นาที ผ่านเกณฑ์กำหนดมาตรฐานมาตรฐานมอก. 876-542547เหมาะที่จะนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ |
รายละเอียดการนำไปใช้งาน | |
เอกสาร Final Paper(s) |
|
ทีมวิจัย

หัวหน้าโครงการ
ที่ | นักวิจัย | หน่วยงาน | ตำแหน่งในทีม | การมีส่วนร่วม (%) |
---|---|---|---|---|
1 | รศ. เดช เหมือนขาว | คณะวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย สงขลา | หัวหน้าโครงการ | 80 |
2 | ผศ. ยงยุทธ ดุลยกุล | คณะวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย สงขลา | ผู้ร่วมวิจัย | 20 |