โครงการวิจัย
แนวทางการพัฒนาตลาด "ปลาใส่อวน" ในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน
-
รายละเอียดโครงการ
ปีงบประมาณ | 2561 |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ | |
ลักษณะโครงการ | โครงการใหม่ |
ประเภทโครงการ | โครงการเดี่ยว |
ประเภทงานวิจัย | โครงการพื้นฐาน |
วันที่เริ่มโครงการวิจัย (พ.ศ.) | 1 ตุลาคม 2560 |
วันที่สิ้นสุดโครงการวิจัย (พ.ศ.) | 30 กันยายน 2561 |
วันที่ได้รับทุนวิจัย (พ.ศ.) | 1 มกราคม 2560 |
ประเภททุนวิจัย | งบประมาณแผ่นดิน |
สถานะโครงการ | สิ้นสุดโครงการ(ส่งผลผลิตเรียบร้อยแล้ว) |
เลขที่สัญญา | |
เป็นโครงการวิจัยที่ใช้ในการจบการศึกษา | ไม่ใช่ |
เป็นโครงการวิจัยรับใช้สังคม | ไม่ใช่ |
บทคัดย่อโครงการ | การวิจัยเรื่อง “แนวทางการพัฒนาตลาด “ปลาใส่อวน” ในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน” มีจุดมุ่งหมายในการวิจัยเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ “ปลาใส่อวน” เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ “ปลาใส่อวน”เป็นที่ยอมรับและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค โดยข้อมูลจากการศึกษาในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการ “ปลาใส่อวน” อีกทั้งเป็นการสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นให้กับ ชุมชน ที่สนใจจะประกอบอาชีพการทา “ปลาใส่อวน” เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจชุมชน และอนุรักษ์ภูมิปัญหาท้องถิ่นให้คงไว้โดยการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อศึกษา (1)พฤติกรรมการซื้อ “ปลาใส่อวน”ในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชมีผลต่อการตัดสินใจซื้อ “ปลาใส่อวน”ในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และ (2)กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด ( Marketing Mix 4P’s ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ “ปลาใส่อวน”ในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช วิธีการดาเนินการวิจัยดังนี้ ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือประชาชนที่อาศัยในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยแบ่งออกเป็น 4 โซน คือ เขา ป่า นา และ ทะเล ได้แก่พื้นที่ อาเภอพิปูน อาเภอท่าศาลา อาเภอทุ่งสง อาเภอเมือง และอาเภอเชียรใหญ่ ได้กลุ่มตัวอย่างจานวน 400 คน การศึกษาในครั้งนี้ ทาการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบการสุ่มแบบอาศัยความน่าจะเป็น (Probability sampling) และการสุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น (Nonprobability sampling) โดยมีการเลือก ตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified sampling )และเลือก ตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมการวิเคราะห์สถิติด้วยคอมพวิเตอร์ เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และในการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติอ้างอิง ( Inferential Statistics ) ใช้การแจกแจงกรณีตัวแปรกลุ่มย่อยมากกว่า 2 กลุ่ม ใช้สถิติ ( Independent Sample t-test ) เพื่อเปรียบเทียบตัวแปรตั้งแต่ 3 ตัวขึ้นไป ใช้สถิติ ( One-Way Analysis Of Variance ) และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ เพียร์สัน (Pearson Correlation) เป็นค่าที่วัดความสัมพันธ์โดยใช้ระดับนัยสาคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า (1)พฤติกรรมการซื้อ “ปลาใส่อวน”ในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชในกับการตัดสินใจซื้อ “ปลาใส่อวน”ในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชในภาพรวมไม่แตกต่างกัน และกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด ( Marketing Mix 4P’s ในภาพรวมไม่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ “ปลาใส่อวน”ในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช คาสาคัญ : ปลาใส่อวน , กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด ……………………………………………………………………………………………………………… |
รายละเอียดการนำไปใช้งาน | |
เอกสาร Final Paper(s) |
|
ทีมวิจัย
ที่ | นักวิจัย | หน่วยงาน | ตำแหน่งในทีม | การมีส่วนร่วม (%) |
---|---|---|---|---|
1 | เจษฏา ร่มเย็น | คณะเทคโนโลยีการจัดการ ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช | หัวหน้าโครงการ | 60 |
2 | ผศ. พนิดา รัตนสุภา | คณะเทคโนโลยีการจัดการ ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช | ผู้ร่วมวิจัย | 10 |
3 | เย็นจิต นาคพุ่ม | คณะเทคโนโลยีการจัดการ ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช | ผู้ร่วมวิจัย | 10 |
4 | ผศ. ปรีชา มุณีศรี | คณะอุตสาหกรรมเกษตร ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช | ผู้ร่วมวิจัย | 10 |