การพัฒนาแนวทางในการควบคุมโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมัน ที่เกิดจากเชื้อสาเหตุ Ganoderma spp.

Control Management Development of Basal Stem Rot of Oil Palm Cause by Ganoderma spp.

รายละเอียดโครงการ

ปีงบประมาณ 2558
หน่วยงานเจ้าของโครงการ
ลักษณะโครงการ โครงการต่อเนื่อง
ประเภทโครงการ โครงการย่อย
โครงการหลัก (Master Project)การปรับปรุงผลผลิตปาล์มน้ำมันในจังหวัดนครศรีธรรมราช
ประเภทงานวิจัย
วันที่เริ่มโครงการวิจัย (พ.ศ.) 1 มกราคม 2599
วันที่สิ้นสุดโครงการวิจัย (พ.ศ.) 1 มกราคม 2600
วันที่ได้รับทุนวิจัย (พ.ศ.) 1 มกราคม 2599
ประเภททุนวิจัย งบประมาณแผ่นดิน
สถานะโครงการ สิ้นสุดโครงการ(ส่งผลผลิตเรียบร้อยแล้ว)
เลขที่สัญญา
เป็นโครงการวิจัยที่ใช้ในการจบการศึกษา ไม่ใช่
เป็นโครงการวิจัยรับใช้สังคม ไม่ใช่
บทคัดย่อโครงการ การพัฒนาแนวทางในการควบคุมโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมันที่เกิดจากเชื้อสาเหตุ Ganoderma sp. ชัยสิทธิ์ ปรีชา เวที วิสุทธิแพทย์ พรศิลป์ สีเผือก บทคัดย่อ โรคลำต้นเน่าเกิดจากเชื้อ Ganoderma boninense เมื่อเป็นโรครุนแรงปาล์มน้ำมันจะยืนต้นตาย จากการสำรวจโรคลำต้นเน่าใน 3 จังหวัด คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และกระบี่ จำนวน 10 อำเภอ พบต้นที่เป็นโรคลำต้นเน่าปาล์มน้ำมันจำนวน 1 แปลง ในแปลงปาล์มน้ำมันเก่า พื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำการตรวจสอบเพื่อยืนยันการเกิดโรคโดยการแยกเชื้อรา Ganoderma sp. ได้จำนวน 3 ไอโซเลต คือ G001, G002 และ G003 เลี้ยงบนอาหาร PDA อายุ 7 วัน เชื้อรามีลักษณะเส้นใยค่อนข้างหยาบ สีขาวฟู เปลี่ยนเป็นสีเหลืองซีดเมื่ออายุ 10 วัน เส้นใยไม่มี clamp connection การศึกษาการทำหัวเชื้อเห็ด Ganoderma sp.โดยใช้วัสดุเพาะ 4 สูตร พบว่าการใช้เมล็ดข้าวเปลือก ค่าเฉลี่ยเส้นผ่านศูนย์กลางโคโลนี มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 6.52 เซนติเมตร การ inoculum เชื้อ Ganoderma sp. พบว่า กรรมวิธีต้นกล้าปาล์มน้ำมันทำแผลที่รากใส่เชื้อสาเหตุ Ganoderma sp. แล้วคลุมด้วยหญ้าแห้ง มีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคสูงสุดหลังการปลูกเชื้อ 210 วัน พบใบเหลือง การเจริญหยุดชะงัก ใบยอดไม่คลี่ พบเส้นใยสีน้ำตาลเข้มปกคลุมรอบๆ โคนต้น เริ่มจากการสร้างเป็นกลุ่มโครงสร้างกลมสีขาว จากการคัดเลือกสารเคมีที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมเชื้อ Ganoderma sp. พบว่า สาร prochloraz มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยมากที่สุด เท่ากับ 96.23 เปอร์เซ็นต์ ที่สามารถควบคุมได้ดีคือ สาร kresoxim-methyl, chlorothalonil, difenoconozole, tridermorph, propiconazole, มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเส้นใย เท่ากับ 88.88 86.44 81.11 และ 70.56 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ การคัดเลือกแบคทีเรียปฏิปักษ์ที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมัน การแยกเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์จากตัวอย่างดินด้วยวิธี soil surface dilution plate และการแยกเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์จากตัวอย่างดอกเห็ด โดยวิธี washing technique คัดเลือกแบคทีเรียปฎิปักษ์โดยวิธี Dual technique สามารถคัดเลือแบคทีเรียปฏิปักษ์มีแนวโน้มในการยับยั้งการเจริญของเชื้อ Ganoderma sp. จำนวน 25 ไอโซเลท จากที่แยกได้ 70 ไอโซเลท โดยแบคทีเรียปฏิปักษ์สายพันธุ์ B001 มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อ Ganoderma sp. สายพันธุ์ G001 ได้ดีที่สุด การคัดเลือกเชื้อราที่มีแนวโน้มในการยับยั้งการเจริญของเชื้อ Ganoderma sp.ด้วยวิธี dual culture technique พบเชื้อราที่มีแนวโน้มว่าเป็นปฏิปักษ์ จำนวน 3 ไอโซเลต จาก 40 ไอโซเลต คือ T001 T003 และT002 สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชในการยับยั้งเชื้อ Ganoderma sp. ได้ไม่โดดเด่น สารสกัดหยาบที่ที่ความเข้มข้นสารสกัดหยาบ 25 และ 50 ไมโครลิตร/มิลลิลิตร พบว่า สารสกัดหยาบจากใบกะละกอที่ความเข้มข้น 10 มิลลิลิตร มีประสิทธิภาพในการยับยั้ง เท่ากับ 41.26 และ 45.33 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
รายละเอียดการนำไปใช้งาน
เอกสาร Final Paper(s)
  • -

ทีมวิจัย

ที่ นักวิจัย หน่วยงาน ตำแหน่งในทีม การมีส่วนร่วม (%)
1ผศ. ชัยสิทธิ์ ปรีชาคณะเกษตรศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราชหัวหน้าโครงการ60
2พรศิลป์ สีเผือกคณะเกษตรศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราชผู้ร่วมวิจัย10
3ผศ. เวที วิสุทธิแพทย์คณะเกษตรศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราชผู้ร่วมวิจัย30