การจัดการที่เหมาะสมในการควบคุมหนูศัตรูพืชและด้วงกุหลาบในสวนปาล์มน้ำมัน จังหวัดนครศรีธรรมราช

Appropriate Management to Controlling Rats (Rattus sp: Muridae : Rodentia) and Rose Beetles (Adoretus compressus : Scarabaeidae : Coleoptera) on Oil Palm Plantations in Nakhon Si Thammarat Province

รายละเอียดโครงการ

ปีงบประมาณ 2558
หน่วยงานเจ้าของโครงการ
ลักษณะโครงการ โครงการต่อเนื่อง
ประเภทโครงการ โครงการย่อย
โครงการหลัก (Master Project)การปรับปรุงผลผลิตปาล์มน้ำมันในจังหวัดนครศรีธรรมราช
ประเภทงานวิจัย
วันที่เริ่มโครงการวิจัย (พ.ศ.) 1 มกราคม 2599
วันที่สิ้นสุดโครงการวิจัย (พ.ศ.) 1 มกราคม 2600
วันที่ได้รับทุนวิจัย (พ.ศ.) 1 มกราคม 2599
ประเภททุนวิจัย งบประมาณแผ่นดิน
สถานะโครงการ สิ้นสุดโครงการ(ส่งผลผลิตเรียบร้อยแล้ว)
เลขที่สัญญา
เป็นโครงการวิจัยที่ใช้ในการจบการศึกษา ไม่ใช่
เป็นโครงการวิจัยรับใช้สังคม ไม่ใช่
บทคัดย่อโครงการ การจัดการที่เหมาะสมในการควบคุมหนูศัตรูพืชและด้วงกุหลาบ ในสวนปาล์มน้ำมัน จังหวัดนครศรีธรรมราช ทิพาวรรณ ทองเจือ จรัญ ทองเจือ บทคัดย่อ การศึกษาประชากรหนูศัตรูพืช ด้วงกุหลาบและศัตรูธรรมชาติ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานการจัดการศัตรูพืชที่เหมาะสม ดำเนินการระหว่างเดือนมกราคม 2558 ถึงพฤศจิกายน 2559ในสวนปาล์มน้ำมันของเกษตรกร อายุต้นปาล์ม 1-3 ปี ในอำเภอทุ่งสง อำเภอร่อนพิบูลย์ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวนรวม 10 สวน พบหนูศัตรูพืชจำนวน 2 ชนิด คือ หนูพุกเล็ก และหนูพุกใหญ่ โดยช่วงเดือนที่พบการระบาดของหนูและมีค่าเฉลี่ยปริมาณหนูพุกเล็กมากที่สุด ของอำเภอทุ่งสง อำเภอ ร่อนพิบูลย์ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ คือ เดือนพฤศจิกายน 2559 (1.00 ตัวต่อสวน) พฤศจิกายน 2559 (1.33 ตัวต่อสวน) และพฤศจิกายน 2558 (0.66 ตัวต่อสวน) ตามลำดับ สำหรับหนูพุกใหญ่ มีค่าเฉลี่ยปริมาณหนูมากที่สุด คือ เดือนมีนาคม 2559 ( 3.25 ตัวต่อสวน) เดือนพฤศจิกายน 2558 (3.33 ตัวต่อสวน) และ เดือนพฤศจิกายน 2558 (2.66 ตัวต่อสวน) ตามลำดับ ส่วนระดับความเสียหายของปาล์มน้ำมันที่เกิดจากการทำลายจากหนู โดยประเมินระดับการทำลายด้วยสายตา แบ่งเป็น 3 ระดับ (0=ไม่พบรอยกัดกินในส่วนลำต้นและโคน, 1=พบรอยกัดกินปานกลาง, 2= พบรอยกัดกินมาก ) โดยอำเภอทุ่งสง อำเภอร่อนพิบูลย์ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ พบระดับความเสียหายมากที่สุด คือ เดือนกันยายน 2559 (1.40) เดือนกุมภาพันธ์ 2558 (0.90) และเดือนมีนาคม 2558 (1.13) ตามลำดับ การศึกษาความสัมพันธ์ของประชากรหนูกับปัจจัยสภาพแวดล้อม พบว่า การเปลี่ยนแปลงประชากรหนูทั้งสามอำเภอ มีความสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณน้ำฝน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r)ในระดับ ปานกลางถึงสูง (0.50-0.83) และมีความสัมพันธ์กับความชื้นสัมพัทธ์ ในระดับปานกลาง (0.50-0.63) และอุณหภูมิมีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำ (0.20-0.40) ส่วนความสัมพันธ์ของประชากรด้วงกุหลาบกับปัจจัยสภาพแวดล้อม พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) ของทุกปัจจัย ในสามอำเภอ มีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำ (0.03- 0.32) สำหรับชนิดและปริมาณแมลงศัตรูธรรมชาติ พบจำนวนทั้งสิ้น 6 ชนิด จากอันดับ Diptera Dermaptera Hymenoptera Odonata Coleoptera และ Hemiptera โดยพบจำนวน 1 ชนิด ในแต่ละอันดับ การศึกษาประสิทธิภาพของกรรมวิธีในการป้องกันกำจัดหนูในสภาพสวนโดยการศึกษาประสิทธิภาพของวัสดุล้อมรั้วโคนต้นในการป้องกันหนูศัตรูพืช ในปาล์มน้ำมันอายุ 2 ปี วางแผนการทดลอง แบบ RCBD มี 6 กรรมวิธี 5 ซ้ำ (5 ต้นต่อกรรมวิธี / 1 ต้นต่อซ้ำ) พบว่าวัสดุล้อมรั้วโคนต้นจากแผ่นตะแกรงลวด แผ่นพลาสติกโพลีแอทธิลีน ปีบ และ แผ่นสังกะสี มีประสิทธิภาพในการควบคุมหนูศัตรูปาล์มน้ำมัน 100 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้นพบว่ากรรมวิธีการกำจัดวัชพืชรอบโคนประมาณ1 เมตร มีประสิทธิภาพในการควบคุมหนูได้ 50 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม (ไม่ปราบวัชพืชและไม่ล้อมโคน) การศึกษาประสิทธิภาพของการใช้เหยื่อโปรโตซัว และสารฆ่าหนูในการควบคุมหนูศัตรูปาล์มน้ำมัน วางแผนการทดลอง แบบ RCBD ทำการทดลอง 4 กรรมวิธี 3 ซ้ำ (1 ซ้ำต่อสวนย่อย) ได้แก่ 1) โปรโตซัว Sarcocystis singaporensis 2) สารฆ่าหนูออกฤทธิ์เร็ว โฟลคูมาเฟน (สะตอม 0.005%) 3) สารฆ่าหนูออกฤทธิ์ช้า ซิงค์ฟอสไฟด์ 1 เปอร์เซ็นต์ และ 4) ชุดควบคุม (ไม่ใช้สาร) โดย แบ่งระดับการทำลายเป็น 4 ระดับ คือ 0 = ไม่พบร่องรอยการกัดกิน 1 = พบเพียงรอยกัดกินในระดับปานกลาง 2= พบรอยกัดกินในระดับรุนแรง จากผลการศึกษาระดับความเสียหายที่เกิดจากการทำลายของหนู พบว่า หลังจากการวางเหยื่อ 12 15 และ18 วัน ทุกกรรมวิธี ไม่พบความเสียหายจากการทำลายของหนู และจากการศึกษาประสิทธิภาพของเหยื่อพิษ พบว่า หลังจากการวางเหยื่อพิษ 18-30 วัน เหยื่อพิษจากทุกกรรมวิธีมีประสิทธิภาพในการควบคุมการทำลายของหนู (ไม่พบการทำลาย) จากการศึกษาประสิทธิภาพของกรรมวิธีในการป้องกันกำจัดด้วงกุหลาบที่ทำลายปาล์มน้ำมันระยะปาล์มอ่อน (อายุ 2 ปี) ในสภาพสวนสาธิต วางแผนการทดลอง แบบ RCB มี 5 ซ้ำ 7 กรรมวิธี ได้แก่ 1)ยาสูบ อัตรา 600 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร 2)สารสกัดจากเมล็ดสะเดาไทย aza 0.5% อัตรา 100 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร 3)แบคโทสปีน (Bt) 5% WP (32,000 iu./มก.) อัตรา 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร 4)ปิโตรเลียมออยล์ 83.9% อัตรา 40 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร 5) คาร์โบซัลแฟน 20 %EC อัตรา 40 มล.ต่อน้ำ20 ลิตร 6) คาร์บาริล 85% WP อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และ 7) ชุดควบคุม (ไม่ใช้สาร) ฉีดพ่นสารทุกสัปดาห์ 3 ครั้ง หลังการฉีดพ่นสารเคมีครั้งสุดท้าย พบว่า กรรมวิธีที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดเปรียบเทียบกับชุดควบคุม(ไม่ใช้สาร) คือการใช้คาร์บาริล 85% WP รองลงมา คือ คาร์โบซัลแฟน 20 %EC ปิโตรเลียมออยล์ 83.9% EC แบคโทสปีน (Bt) 5% WP (32,000 iu. ต่อ มก.) ยาสูบและ สารสกัดจากเมล็ดสะเดาไทย aza 0.5% โดยมีประสิทธิภาพของกรรมวิธี 85.93 80.71 79.97 63.86 60.00 และ 56.37 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ เปรียบเทียบกับชุดควบคุม(ไม่ใช้สาร) การศึกษาการจัดการแบบผสมผสานกรรมวิธีที่เหมาะสมในการป้องกันกำจัดด้วงกุหลาบที่ทำลายปาล์มน้ำมันระยะปาล์มอ่อน (อายุ 2 ปี) วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 5 ซ้ำ 8 กรรมวิธีได้แก่ 1) (M1) ยาสูบ อัตรา 600 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร 2) (M2)ปิโตรเลียมออยล์ 83.9% EC. อัตรา40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร 3) (M3)คาร์บาริล 85% WP. อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร 4) (M4)ยาสูบ อัตรา 600 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร + คาร์โบซัลแฟน 5% G. อัตรา 200 กรัมต่อต้น 5) (M5)ปิโตรเลียมออยล์ 83.9% EC. อัตรา40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร + คาร์โบซัลแฟน 5% G. อัตรา 200 กรัมต่อต้น 6) (M6) คาร์บาริล 85% WP. อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร + คาร์โบซัลแฟน 5% G. อัตรา 200 กรัมต่อต้น 7) (M7) คาร์โบซัลแฟน 5%G. อัตรา 200 กรัมต่อต้น และ 8. (M8) ชุดควบคุม (ไม่ใช้สาร) จากการศึกษาประสิทธิภาพของการผสมผสานกรรมวิธี พบว่า M6:การใช้คาร์บาริล 85% WP+คาร์โบซัลแฟน 5% G มีประสิทธิภาพในการควบคุมมากที่สุด (100 เปอร์เซ็นต์) รองลงมา คือ M3:คาร์บาริล 85% WP, M7: คาร์โบซัลแฟน 5% G, M5:ปิโตรเลียมออยล์ 83.9% EC+คาร์โบซัลแฟน 5%G, M4:ยาสูบ + คาร์โบซัลแฟน 5%G, M2:ปิโตรเลียมออยล์ 83.9% EC และ M1:ยาสูบ โดยมีประสิทธิภาพของกรรมวิธี 86.62 74.98 73.86 70.59 66.54 และ 62.82 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เปรียบเทียบกับ M8: ชุดควบคุม (ไม่ใช้สาร) Appropriate Management to Controlling Rats (Rattus sp: Muridae : Rodentia) and Rose Beetles (Adoretus compressus : Scarabaeidae : Coleoptera) on Oil Palm Plantations in Nakhon Si Thammarat Province Tipawan Thongjua Jarun Thongjua Abstract The population of rats, rose beetles and natural enemies on oil palm plantations in Nakhon Si Thammarat Province were examined to obtain fundamental data in decision-making for pest management. The study was conducted from January 2015 to November 2016 on 1 to 3-year-old oil palm plantations in Thungsong, Ronphiboon and Chaloem Phra Kiat district, Nakhon Si Thammarat Province, on 10 farmers’ orchards. Two species of rats , Bandicota indica and Bandicota Savilei were found. The outbreak month and maximum of Bandicota indica abundance peaked in Thungsong, Ronphiboon and Chaloem Phra Kiat district were on November 2016 (1.00 rat/orchard), November2016 (1.33 rat/orchard) and November 2015 (0.66 rat/orchard) , respectively. For Bandicota indica, the outbreak period month and maximum abundance peaked in Thungsong, Ronphiboon and Chaloem Phra Kiat district were on March 2016 (3.25 rat/orchard), November 2015 (3.33 rat/orchard)and November 2015 (2.66 rat/orchard), respectively. For the rat damage level, that were sorted into 3 groups based on visual determinations of fresh chewing damage, as follows : 0 = no damage, 1 = moderate , 2 = severe. The damage level in Thungsong, Ronphiboon and Chaloem Phra Kiat district, the outbreak period month and maximum peaked were on September 2016(1.40), February 2015(0.90) and March 2015 (1.13) , respectively. The relationship between rat population and environmental factors of all districts, were directly related to rainfall, with the correlation coefficient (r) were moderately to high- level (0.50-0.83) and related to relative humidity were moderately (0.50-0.63) and related to temperature were low (0.20-0.40). The relationship between rose beetles population and environmental factors of all districts, were low related to temperature, rainfall and relative humidity , with the correlation coefficient (r) from 0.03 to 0.32 . The total number of natural enemies found was 6 species in 6 order : Diptera, Dermaptera, Hymenoptera, Odonata, Coleoptera and Hemiptera , (1 species in each order). The study on the material types of fence boxes for evaluate the efficacy of method to prevent rat damage was conducted in 2 year oil palm plantation. The experimental design was RCBD with5 replications (one tree per replications) 6 treatment as follows: 1) steel grating sheets 2) polyethylene plastic sheets 3) tin sheets 4) zinc sheets 5) weeding around the base of the stem about one meter and 6) control (no weeding and no surrounding). The using of steel grating sheet , polyethylene plastic sheet, tin sheets and zinc sheets were no damage and significant with the control (with effectively 100 percent compare with control) and weeding around the base of the stem about one meter was effectively with 50 percent compare with control The comparative efficacy of rodenticides in oil palm plantations were studied in 1-3 years oil palm plantation. The experimental design was using CRD with 4 replications (10 trees/plot/replication) and 4 methods, as follows: 1) protozoa bait, Sarcocystis singaporensis (200,000 sporocysts/cube) 2) flocoumafen (storm 0.005%) 3) zinc phosphide 1% and 4) control (non treated). Taken baits about 5 g./cube/tree in each treated method and were replaced when bait reduced, check the infestation of rat at 3-day intervals. The assessment of rat damage were visible from fresh damage on the stem of oil palms with divided into four levels ; 0 = no damage, 1 = moderate and 2 = severe. The results revealed that, all treated plots were 100% effectively, and significantly difference (p<0.05) from control (non treated), by the time for controlling of zinc phosphide 1%, protozoa and flocoumafen 0.005%- treated plots were 12, 15 and 18 days after placing the baits, respectively, and significantly difference(p<0.05) from control (non treated). The study on the effectiveness of pesticides to control rose beetle in oil palm plantation, with the experimental design was RCBD with 5 replications 7 treatment : 1) tobacco 3% 2)Thai neem extract (aza. 0.05%), 3) bactospeine FC 120 ml/ 20 L. of water 4) petroleum oil 83.9% EC 40 ml/ 20 L.of water 5) carbosulfan 20 % EC 10 ml/ 20 L.of water 6) carbaryl 85% WP 60 g./ 20 L. of water and 7) control (non treated). Sprayed once a week for 3 times, after the last spraying, the effectiveness of treatment was carbaryl 85% WP followed by carbosulfan 20 % EC, petroleum oil 83.9% EC, bactospeine FC, tobacco 3% (3%), Thai neem extract (aza. 0.05%), at 85.93 80.71 79.97 63.86 60.00 and 56.37 %,respectively, compared with control (non treated). The integrated pest management (IPM) program for controlling rose beetle, planning process was RCBD with 5 replications 8 methods(M): 1. (M1) tobacco 3%, 2) (M2) petroleum oil 83.9% EC 40 ml/20 L.of water, 3) (M3) carbaryl 85% WP 60 g./ 20 L.of water, 4) (M4) tobacco 3% (3%)+ carbosulfan 5 % G 200 g./ tree, 5) (M5) petroleum oil 83.9% EC 40 ml/ 20 L. of water+carbosulfan 5 % G 200 g./ tree, 6) (M6) carbaryl 85% WP 60 g./ 20 L. of water+carbosulfan 5 % G 200 g./ tree, 7) (M7) carbosulfan 5 % G 200 g./ tree and 8) (M8) farmer method (non treated). The highest effectiveness methods were M6 (100 %) followed by M3, M7, M4, M5, M2 and M1 at 86.62 74.98 73.86 70.59 66.54 and 62.82 %, respectively, compared with (M8) farmer method (non treated).
รายละเอียดการนำไปใช้งาน
เอกสาร Final Paper(s)
  • -

ทีมวิจัย

ที่ นักวิจัย หน่วยงาน ตำแหน่งในทีม การมีส่วนร่วม (%)
1ผศ. ทิพาวรรณ ทองเจือคณะเกษตรศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราชหัวหน้าโครงการ70
2ผศ. จรัญ ทองเจือคณะเกษตรศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราชผู้ร่วมวิจัย20