โครงการวิจัย
การตรวจคัดกรองทางพฤกษเคมีและการประเมินสารต้านอนุมูลอิสระจากสารสกัดใบและกิ่งฝาดดอกแดง
Phytochemical Screening and Assessment of In Vitro Antioxidant Activities from Lumnitzera littorea Leaf and Twig Extract
รายละเอียดโครงการ
ปีงบประมาณ | 2562 |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ | |
ลักษณะโครงการ | โครงการใหม่ |
ประเภทโครงการ | โครงการเดี่ยว |
ประเภทงานวิจัย | โครงการประยุกต์ |
วันที่เริ่มโครงการวิจัย (พ.ศ.) | 1 ตุลาคม 2561 |
วันที่สิ้นสุดโครงการวิจัย (พ.ศ.) | 30 กันยายน 2562 |
วันที่ได้รับทุนวิจัย (พ.ศ.) | 1 ตุลาคม 2561 |
ประเภททุนวิจัย | งบประมาณรายได้ |
สถานะโครงการ | สิ้นสุดโครงการ(ส่งผลผลิตเรียบร้อยแล้ว) |
เลขที่สัญญา | |
เป็นโครงการวิจัยที่ใช้ในการจบการศึกษา | ไม่ใช่ |
เป็นโครงการวิจัยรับใช้สังคม | ไม่ใช่ |
บทคัดย่อโครงการ | การตรวจคัดกรองทางพฤกษเคมีและการประเมินสารต้านอนุมูลอิสระจากสารสกัดใบ และกิ่งฝาดดอกแดง ลักษมี วิทยา และ จันทรา อุ้ยเอ้ง บทคัดย่อ ฝาดดอกแดง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Lumnitzera littorea เป็นพืชป่าชายเลน อยู่ในวงศ์ COMBRETACEAE เก็บใบและกิ่งฝาดดอกแดงจากบริเวณเขตมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง มาสกัดด้วยตัวทำละลายเมทานอล นำสารสกัดหยาบตรวจสอบสมบัติ ทางพฤกษเคมีและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระพบว่า สารสกัดของกิ่งจากฝาดดอกแดงออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ได้ดีกว่าสารสกัดใบ การตรวจสารพฤกษเคมีพบสารสำคัญที่เป็นองค์ประกอบหลายชนิด เช่น สารเมทาบอไลท์ปฐมภูมิ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน กรดอะมิโน ขณะที่สารเมทาบอไลท์ทุติยภูมิ พบแอนทราควิโน แทนนิน ฟลาโวนอยด์ เทอร์พีนอยด์และแอลคาลอยด์ ข้อมูลพื้นฐานข้างต้น สนับสนุนการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดฝาดดอกแดง ผลการทดลองดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า สารสกัดจากฝาดดอกแดงมีสารออกฤทธิ์ที่มีประสิทธิภาพ สามารถนำสารสกัดจากใบและกิ่งซึ่งมี สารสำคัญนี้เป็นสารดักจับอนุมูลอิสระจากธรรมชาติทดแทนสารต้านอนุมูลอิสระสังเคราะห์ได้ คำสำคัญ: พฤกษเคมี อนุมูลอิสระ ฝาดดอกแดง |
รายละเอียดการนำไปใช้งาน | |
เอกสาร Final Paper(s) |
|
ทีมวิจัย

หัวหน้าโครงการ
ที่ | นักวิจัย | หน่วยงาน | ตำแหน่งในทีม | การมีส่วนร่วม (%) |
---|---|---|---|---|
1 | ลักษมี วิทยา | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง | หัวหน้าโครงการ | 80 |
2 | ผศ. จันทรา อุ้ยเอ้ง | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง | ผู้ร่วมวิจัย | 20 |