เครื่องตรวจวัดค่าออกซิเจนในบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอัตโนมัติและส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายไร้สายแบบ Internet of Things (IoT)กรณีศึกษา: ประยุกต์ใช้งานในศูนย์การเรียนรู้เพาะฟักลูกปูบ้านหัวเขา อ.สิงหนคร จ.สงขลา

Automatic oxygen monitoring in aquaculture pond and wireless transferring data based on IoT platform Case study: Application for Learning Center for Hatching of Crabs, Ban Hua-Khao, Singha-Nakhon District, Songkhla Province

รายละเอียดโครงการ

ปีงบประมาณ 2563
หน่วยงานเจ้าของโครงการ
ลักษณะโครงการ โครงการใหม่
ประเภทโครงการ โครงการเดี่ยว
ประเภทงานวิจัย โครงการพื้นฐาน
วันที่เริ่มโครงการวิจัย (พ.ศ.) 1 ตุลาคม 2562
วันที่สิ้นสุดโครงการวิจัย (พ.ศ.) 30 กันยายน 2563
วันที่ได้รับทุนวิจัย (พ.ศ.) 1 ตุลาคม 2562
ประเภททุนวิจัย งบประมาณรายได้
สถานะโครงการ สิ้นสุดโครงการ(ส่งผลผลิตเรียบร้อยแล้ว)
เลขที่สัญญา
เป็นโครงการวิจัยที่ใช้ในการจบการศึกษา ไม่ใช่
เป็นโครงการวิจัยรับใช้สังคม ไม่ใช่
บทคัดย่อโครงการ ทะเลสาบสงขลาเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญของชุมชนที่อาศัยอยู่โดยรอบ มีขนาดใหญ่ราว 974 ตารางกิโลเมตร กว้างจากทิศตะวันตกไปตะวันออกประมาณ 20 กิโลมเมตร และยาวจากทิศเหนือยังทิศใต้อีก 75 กิโลเมตร โดยมีพื้นที่รอบลุ่มทะเลสาบ 1,040 ตารางกิโลเมตร ทะเลสาบสงขลาเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญของชุมชนที่อาศัยอยู่โดยรอบ โดยทะเลสาบแห่งนี้ขึ้นชื่อเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีมากกว่า 700 ชนิด ทั้งปลา กุ้ง ปู ฯลฯ ล้วนมีคุณค่าและมีราคาในภาคเศรษฐกิจ หล่อเลี้ยงลูกทะเลมากว่า 150 ชุมชน ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาปูมีปริมาณลดลงต่อเนื่องจากการถูกจับขายอย่างรวดเร็วเกินกว่าธรรมชาติจะทดแทนทัน ขณะที่การควบคุมประมงปูยังเป็นเรื่องยากตราบที่ปูยังเป็นสัตว์สำคัญเลี้ยงปากท้อง มูลค่าที่เห็นชัดคือจาก 10 ปีก่อน ราคาปูม้ากิโลกรัมละ 90 บาท โดยที่ปัจจุบันหากซื้อตรงจากชาวประมงราคากิโลกรัมละ 350 บาท (จำนวน 3-4 ตัวต่อกิโลกรัม) หรือหากซื้อผ่านแม่ค้าราคาก็จะขึ้นเป็นกิโลกรุมละ 500 บาทเลยทีเดียว น่ากลัวเกินกว่าจะคิดต่อว่าสภาพแวดล้อมจะเป็นอย่างไร หากสภาพของทะเลสาบเปลี่ยนแปลง สัตว์เศรษฐกิจหมดทะเล เพราะคงไม่เพียงชาวประมงรุ่นปัจจุบันที่ลำบาก ลูกหลานก็อาจหมดอาชีพไปด้วย กลุ่มประมงพื้นบ้าน ป.ทรัพย์อนันต์ เกิดขึ้นโดยการรวมตัวของชาวประมงราว 200 คน ที่ใช้เครื่องมืออวนจมและลอบดักปูหากินในน่านน้ำทะเลสาบสงขลา เขตอำเภอสิงหนคร อำเภอสทิงพระ และอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา แรกเริ่มที่นี่ใช้ระบบจัดการเดียวกับธนาคารปูทั่วไป คือชักชวนให้สมาชิกนำปูที่มีไข่นอกกระดอง (บริเวณหน้าท้อง) มาให้ยี (เขี่ยไข่) แทนการรับเลี้ยงแม่ปูจนไข่ฟักออกเป็นตัวอ่อนเพื่อร่นเวลาคือแม่ปูแก่เจ้าของ ก่อนจะหันมาใช้วิธีอบรมการยีไข่แก่สมาชิกเพื่อให้เจ้าของปูทำเอง แล้วเพียงนำไข่ที่ยีเสร็จมาบริจาคให้ทางกลุ่มขยายพันธุ์ต่อจนกว่าจะถึงระยะลูกปูวัยอ่อนที่พร้อมคืนสู่ทะเล คล้ายกับสันทรัพย์ไว้กับธรรมชาติ ให้มีชีวิตเติบโตต่อเพื่อย้อนเป็นดอกเบี้ยไม่รู้จบแก่ชาวประมงในอนาคต
รายละเอียดการนำไปใช้งาน เช่น ด้านวิชาการ ด้านนโยบาย ด้านเศรษฐกิจ/พาณิชย์ อุตสาหกรรม ด้านสังคมและชุมชน รวมถึงการเผยแพร่ในวารสาร จดสิทธิบัตร ฯลฯ 9.1 ด้านวิชาการ 1) องค์ความรู้เชิงวิชาการ 2) การนำเสนอผลงาน บทความวิจัยในระดับชาติ/นานาชาติ อย่างน้อย 1 บทความ 9.2 ด้านองค์กร และชุมชน 1) เพิ่มประสิทธิภาพในบ่อเพาะฟักลูกปูชุมชนบ้านหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา 2) เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและการเผยแพร่องค์ความรู้อื่นๆ ต่อไปในอนาคต 3) เสริมสร้างการใช้เทคโนโลยีและความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาและชุมชนเพื่อให้เกิดชุมชนเข้มแข็งและเศรษฐกิจยั่งยืน 4) หน่วยงานและบุคลากรภายนอกมหาวิทยาลัยฯ ได้ความรู้และตระหนักถึงคุณค่า ประโยชน์ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
เอกสาร Final Paper(s)
  • -

ทีมวิจัย

ที่ นักวิจัย หน่วยงาน ตำแหน่งในทีม การมีส่วนร่วม (%)
1ดร. วาสณา บุญส่งคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ราชมงคลศรีวิชัย สงขลาหัวหน้าโครงการ80
2จุฑามาศ จันโททัยคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ราชมงคลศรีวิชัย สงขลาผู้ร่วมวิจัย20