โครงการวิจัย
อัตลักษณ์ของชุมชนบ้านวังไทร ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
The Identity of Baan Wang sai Community Tham Yai Sub-district Thung Song District Nakhon Si Thammarat Province
รายละเอียดโครงการ
ปีงบประมาณ | 2563 |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ | |
ลักษณะโครงการ | โครงการใหม่ |
ประเภทโครงการ | โครงการเดี่ยว |
ประเภทงานวิจัย | โครงการประยุกต์ |
วันที่เริ่มโครงการวิจัย (พ.ศ.) | 1 ตุลาคม 2562 |
วันที่สิ้นสุดโครงการวิจัย (พ.ศ.) | 30 กันยายน 2563 |
วันที่ได้รับทุนวิจัย (พ.ศ.) | 1 ตุลาคม 2562 |
ประเภททุนวิจัย | งบประมาณรายได้ |
สถานะโครงการ | สิ้นสุดโครงการ(ส่งผลผลิตเรียบร้อยแล้ว) |
เลขที่สัญญา | |
เป็นโครงการวิจัยที่ใช้ในการจบการศึกษา | ไม่ใช่ |
เป็นโครงการวิจัยรับใช้สังคม | ไม่ใช่ |
บทคัดย่อโครงการ | อัตลักษณ์ของชุมชนบ้านวังไทร ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช รัตนา อุ่นจันทร์1 จารีพร เพชรชิต2 และสาธิต บัวขาว3 บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของชุมชนบ้านวังไทร ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยทั้งสิ้น 34 ครัวเรือน นำเสนอผลการวิจัยในประเด็นเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและสังคมบางประการของกลุ่มตัวอย่าง อัตลักษณ์ของชุมชนบ้านวังไทร ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นนอัตลักษณ์ของชุมชนบ้านวังไทร ประกอบด้วยปัจจัย 3 ด้าน คือ อัตลักษณ์ด้านสังคม อัตลักษณ์ด้านการมีส่วนร่วม และอัตลักษณ์ด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งศึกษาอัตลักษณ์ด้านความมั่นคงทางอาหาร และข้อเสนอแนะ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ โดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบแบบที (T-test) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 65.60) มีอายุเฉลี่ย 51.85 ปี ทั้งหมดมีสถานภาพสมรส จบการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษา (ร้อยละ 78.10) สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.46 คน ประกอบอาชีพเกษตรกร (ร้อยละ 78.20) และมีรายได้เฉลี่ย 10,646.95 บาท อัตลักษณ์ของชุมชนบ้านวังไทร พบว่า ประเพณี ได้แก่ ลอยกระทง ความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ “ทวดหมื่นราม” “ทวดช่องชก” มีการประกอบพิธีกรรมการตั้งเสาเอกยกบ้าน ลักษณะเฉพาะชุมชน คือ ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร และมรดกทางธรรมชาติ คือ ป่าชุมชน ปัจจัยที่มีต่อความเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนบ้านวังไทร พบว่า อัตลักษณ์ด้านสังคมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.183) อัตลักษณ์ด้านการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.777) และอัตลักษณ์ด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.711) ผลทดสอบสมมติฐาน พบว่า อัตลักษณ์ด้านสังคม อัตลักษณ์ด้านการมีส่วนร่วม และอัตลักษณ์ด้านสิ่งแวดล้อม มีผลต่อความเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p ≤ 0.01) อัตลักษณ์ด้านความมั่นคงทางอาหาร พบว่า มีพื้นที่ถือครองการทำเกษตรทั้งหมด เฉลี่ย 8.23 ไร่ เป็นพื้นที่ของตนเองทั้งหมด ใช้ประโยชน์เป็นพื้นที่ยางพารา เฉลี่ย 4.11 ไร่ ปาล์มน้ำมัน เฉลี่ย 2.10 ไร่ ทุเรียน เฉลี่ย 1.02 ไร่ และเป็นที่อยู่อาศัย เฉลี่ย 1.02 ไร่ ทั้งหมด (ร้อยละ 100.00) เป็นสมาชิกกลุ่มหรือสถาบันเกษตรกร เงินลงทุนในการผลิตพืชส่วนใหญ่ (ร้อยละ 88.30) ใช้ทุนสวนตัว และใช้น้ำบ่อ/น้ำบาดาลในการผลิตพืช ข้อเสนอแนะ พบว่า ควรมีการจัดอบรมความรู้ให้แก่คนในชุมชน และมีข้อเสนอแนะควรมีการสนับสนุนจากภาครัฐ คำสำคัญ: อัตลักษณ์ของชุมชน 1 2 3 อาจารย์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช The Identity of Baan Wang sai Community Tham Yai Sub-district, Thung Song District, Nakhon Si Thammarat Province Rattana Unjan1 Jareporn Phetchit2 and Sathit Buakhao3 Abstract This research aimed to study the identity of Ban Wang Sai community, Tham Yai Sub-district, Thung Song District, Nakhon Si Thammarat Province. The samples used in the research were 34 households. The research results focused on some of the fundamental socio-economic issues of the sample, identity of Ban Wang Sai community, factors affecting the identity of Ban Wang Sai Community consisting of 3 factors: social identity, participatory identity, environmental identity, food security identity, and suggestions. Data were collected by using interview. The collected data were analyzed with a ready-made social science statistics program by using percentage, mean, standard deviation, and T-test. The research results showed that most of the participants were males (65.60%), the average age was 51.85, all had marital status, most of them finished primary school education (78.10%), the average household member was 3.46, most of them were farmers (78.20%), and they had an average income of 10,646.95 baht. The identity of Ban Wang Sai community revealed the traditions including Loi Krathong, belief in sacred things, "Great grandfather Muen Ram" and "Great grandfather Chong Chok", and the ritual setting up a master pole to raise the house. A community's peculiarity was the abundance of resources and natural heritage was community forest. When considering factors affecting the identity of Ban Wang Sai community, it was found that social identity was at a high level (4.18), participation identity was at the highest level (4.77), and environmental identity was at the highest level (4.71). The results of the hypothesis testing also revealed that social identity, participatory identity and environmental identity had a statistically significant effect on community identity (p ≤ 0.01). Food security identity showed that the participating farmers had an average holding area of 8.23 rai, the area owned by agriculture was used as the average rubber area at 4.11 rai, the average oil palm was 2.10 rai, the average durian was 1.02 rai, and the average habitat was 1.02 rai. (total of 100%). They all were members of farmer groups or institutions. Most of the investment in crop production (88.30%) was spent on gardening and pond or groundwater in the production of plants. It was suggested that education should be provided to people in the community and there should be suggestions or support from the government. Keywords: community identity |
รายละเอียดการนำไปใช้งาน | |
เอกสาร Final Paper(s) |
|
ทีมวิจัย

หัวหน้าโครงการ
ที่ | นักวิจัย | หน่วยงาน | ตำแหน่งในทีม | การมีส่วนร่วม (%) |
---|---|---|---|---|
1 | รัตนา อุ่นจันทร์ | คณะเกษตรศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช | หัวหน้าโครงการ | 60 |
2 | สาธิต บัวขาว | คณะเกษตรศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช | ผู้ร่วมวิจัย | 20 |
3 | จารีพร เพชรชิต | คณะเกษตรศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช | ผู้ร่วมวิจัย | 20 |
บทความวารสาร
ที่ | ชื่อบทความ | วารสาร/หนังสือ ที่ตีพิมพ์ | ระดับบทความ | ฐานข้อมูลที่ตีพิมพ์ | วันที่ตีพิมพ์ |
---|---|---|---|---|---|
1 | อัตลักษณ์ของชุมชนบ้านวังไทร ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช | วารสารราชพฤกษ์ | ระดับชาติ | TCI | 1 พฤษภาคม 2564 |
2 | อัตลักษณ์ของชุมชนบ้านวังไทร ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช | วารสารราชพฤกษ์ | ระดับชาติ | TCI | 1 พฤษภาคม 2564 |
3 | อัตลักษณ์ของชุมชนบ้านวังไทรเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยว ในอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช | วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร | ระดับชาติ | TCI | 1 สิงหาคม 2566 |