การพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการย่อยพลาสติกเหลือใช้จากครัวเรือน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะภายในชุมชนเทศบาลเมืองเขารูปช้าง จังหวัดสงขลา

Development and Improvement of Waste Plastic Crusher Process from Households to Enhance the Efficiency of Waste Management within Community of Khaoroopchang Municipality Songkhla Province

รายละเอียดโครงการ

ปีงบประมาณ 2563
หน่วยงานเจ้าของโครงการ
ลักษณะโครงการ โครงการใหม่
ประเภทโครงการ โครงการเดี่ยว
ประเภทงานวิจัย โครงการวิจัยและพัฒนา
วันที่เริ่มโครงการวิจัย (พ.ศ.) 1 ตุลาคม 2562
วันที่สิ้นสุดโครงการวิจัย (พ.ศ.) 30 กันยายน 2563
วันที่ได้รับทุนวิจัย (พ.ศ.) 1 เมษายน 2563
ประเภททุนวิจัย ทุน ววน.
สถานะโครงการ สิ้นสุดโครงการ(ส่งผลผลิตเรียบร้อยแล้ว)
เลขที่สัญญา
เป็นโครงการวิจัยที่ใช้ในการจบการศึกษา ไม่ใช่
เป็นโครงการวิจัยรับใช้สังคม ไม่ใช่
บทคัดย่อโครงการ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างเครื่องย่อยพลาสติกเหลือใช้จากครัวเรือน ทดสอบหาขีดความสามารถในการทำงานของเครื่องย่อยพลาสติกเหลือใช้จากครัวเรือน และถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ชุมชนเทศบาลเมืองเขารูปช้าง จังหวัดสงขลา โดยมีการออกแบบสร้างเครื่องให้มีขนาดความกว้าง x ความยาว x ความสูง เท่ากับ 543 x 776 x 1,494 มิลลิเมตร มีชุดใบมีดตัดทั้งหมด 44 ใบ ใช้มอเตอร์ขนาด 7.5 แรงม้า ระบบไฟฟ้า 1เฟส เป็นต้นกำลัง การทดลองการทำงานของเครื่องย่อยพลาสติกเหลือใช้จากครัวเรือน ใช้วัตถุดิบในการทดลอง 3 ชนิดคือ ขวดพลาสติกโค้ก (PET) ขวดพลาสติกสไปรท์ (PET) และ ขวดพลาสติก (PP) นำมาล้างทำความสะอาดแยกฝาขวดพลาสติก และสติกเกอร์ข้างขวดพลาสติกออก และนำมาเข้าเครื่องย่อยพลาสติกเหลือใช้จากครัวเรือน ผลการทดลองพบว่า เครื่องมีประสิทธิภาพในการย่้อยพลาสติกทั้ง 3 ชนิด มีอัตราการย่อยของเครื่องใน 1 ชั่วโมง ดังนี้ ขวดพลาสติกโค้ก (PET) 7.12 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ขวดพลาสติกสไปรท์ (PET) อยู่ที่ 8.82 กิโลกรัมต่อชั่วโมง และขวดพลาสติก (PP) อยู่ที่ 9.58 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ส่วนการร่อนคัดแยกขนาดจากการย่อย สามารถย่อยขวดพลาสติกให้เป็นเศษที่มีขนาดระหว่าง 6.4 - 9.4 มิลลิเมตร
รายละเอียดการนำไปใช้งาน
เอกสาร Final Paper(s)
  • -

ทีมวิจัย

หัวหน้าโครงการ
ที่ นักวิจัย หน่วยงาน ตำแหน่งในทีม การมีส่วนร่วม (%)
1รศ. วรพงค์ บุญช่วยแทนคณะวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย สงขลาหัวหน้าโครงการ70
2จักรนรินทร์ ฉัตรทองคณะวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย สงขลาผู้ร่วมวิจัย10
3ชาตรี หอมเขียวคณะวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย สงขลาผู้ร่วมวิจัย20