ผลของการใช้เห็ดเสม็ดปลูกร่วมกับต้นกล้าของพืชอิงอาศัยภายใต้โรงเรือนเพาะชำ

Effect of Boletus griseipurpureus inoculation on plant host seedling under nursery

รายละเอียดโครงการ

ปีงบประมาณ 2563
หน่วยงานเจ้าของโครงการ
ลักษณะโครงการ โครงการใหม่
ประเภทโครงการ โครงการเดี่ยว
ประเภทงานวิจัย โครงการวิจัยและพัฒนา
วันที่เริ่มโครงการวิจัย (พ.ศ.) 1 ตุลาคม 2562
วันที่สิ้นสุดโครงการวิจัย (พ.ศ.) 30 กันยายน 2563
วันที่ได้รับทุนวิจัย (พ.ศ.) 1 ตุลาคม 2562
ประเภททุนวิจัย งบประมาณรายได้
สถานะโครงการ สิ้นสุดโครงการ(ส่งผลผลิตเรียบร้อยแล้ว)
เลขที่สัญญา
เป็นโครงการวิจัยที่ใช้ในการจบการศึกษา ไม่ใช่
เป็นโครงการวิจัยรับใช้สังคม ไม่ใช่
บทคัดย่อโครงการ ผลของการใช้เห็ดเสม็ดปลูกร่วมกับต้นกล้าของพืชอิงอาศัยภายใต้โรงเรือนเพาะชำ อมรรัตน์ อังอัจฉะริยะ1 อนันตนิจ ชุมศรี1 และ อารีรัตน์ ว่องก๊ก1 บทคัดย่อ เห็ดเสม็ด (Boletus griseipurpureus Corner หรือ Tylopilus griseipurpureus E. Horak) เป็นเอคโตไมคอรไรซ่าที่กินได้ ซึ่งพบได้ในป่าเสม็ดขาว และป่ากระถินเทพาที่อยู่ตามธรรมชาติ นำสารแขวนลอยสปอร์เห็ดเสม็ดมาเพาะเลี้ยงร่วมกับต้นกล้ากระถินเทพา และต้นกล้าเสม็ดขาวในโรงเรือน ทำการหยอดสารแขวนลอยสปอร์เห็ดเสม็ดที่ความเข้มข้น 1 x 105 ถึง 1 x 108 เซลล์ต่อมิลลิลิตร ให้กับต้นกล้ากระถินเทพา และต้นกล้าเสม็ดขาวในโรงเรือนทุกเดือน สามารถเพาะต้นกล้ากระถินเทพาในโรงเรือนได้ 11 เดือน ขณะที่ต้นกล้าเสม็ดขาวเพาะในโรงเรือนได้ 3 เดือนเพราะมีศัตรูพืชทำลาย ความสูงของต้นกระถินเทพาที่ใส่สารแขวนลอยของสปอร์เห็ดเสม็ด เนื่องจากมีศัตรูพืช และเชื้อราเข้าทำลายต้นกล้า และกระถินเทพาที่ไม่ใส่สารแขวนลอยของสปอร์เห็ดเสม็ด (ชุดควบคุม) เป็นระยะเวลา 11 เดือน พบว่า ค่าเฉลี่ยความสูงของกระถินเทพาที่ใส่สารแขวนลอยของสปอร์เห็ดเสม็ดสูงกว่ากระถินเทพาที่ไม่ใส่สารแขวนลอยของสปอร์เห็ดเสม็ดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.005 (t218=2.664, P<0.005) ขณะที่ต้นกล้าเสม็ดขาวที่มีการหยอดสารแขวนลอยสปอร์เห็ดเสม็ดเป็นเวลา 3 เดือน มีความสูงเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ รากต้นกล้าผ่านการย้อมสีรากด้วย 0.03% Chlorozal Black E ผลการตรวจสอบการเป็นเอคโตไมคอร์ไรซ่าในรากพืชเจ้าบ้านด้วยวิธีตัดรากตามขวางด้วยวิธี hand free section พบว่ารากกระถินเทพาที่หยอดสปอร์เห็ดเสม็ดอายุ 11 เดือน ไม่พบโครงสร้าง mantle sheath และ hartig net และในรากเสม็ดขาวที่มีการหยอดสปอร์เห็ดเสม็ดอายุ 3 เดือน ผลการตัดรากตามขวาง ไม่พบ mantle sheath และ hartig net เช่นกัน คำสำคัญ: เห็ดเสม็ด กระถินเทพา เอคโตไมคอร์ไรซ่า Effects of Boletus griseipurpureus inoc
รายละเอียดการนำไปใช้งาน
เอกสาร Final Paper(s)
  • -

ทีมวิจัย

หัวหน้าโครงการ
ที่ นักวิจัย หน่วยงาน ตำแหน่งในทีม การมีส่วนร่วม (%)
1ผศ.ดร. อมรรัตน์ อังอัจฉะริยะคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรังหัวหน้าโครงการ60
2อารีรัตน์ ว่องก๊กคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรังผู้ร่วมวิจัย20
3อนันตนิจ ชุมศรีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรังผู้ร่วมวิจัย20

บทความประชุมวิชาการ

ที่ บทความประชุมวิชาการ ชื่อการประชุม สถานที่จัดการประชุม ปีที่จัดการประชุม (พ.ศ.)
1ผลของการใช้เห็ดเสม็ดปลูกร่วมกับต้นกล้ากระถินเทพาภายใต้โรงเรือนเพาะชำการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 3ออนไลน์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้2566