โครงการวิจัย
ศึกษาอัตลักษณ์วัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของชาวบ้านย่านเมืองเก่า อำเภอสิเกา จังหวัด
Study Identities Culture Local Cuisine for Conservation and add value Economic at Old Town Sikao District Trang Province
รายละเอียดโครงการ
ปีงบประมาณ | 2563 |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ | |
ลักษณะโครงการ | โครงการใหม่ |
ประเภทโครงการ | โครงการเดี่ยว |
ประเภทงานวิจัย | โครงการวิจัยและพัฒนา |
วันที่เริ่มโครงการวิจัย (พ.ศ.) | 1 ตุลาคม 2562 |
วันที่สิ้นสุดโครงการวิจัย (พ.ศ.) | 30 กันยายน 2563 |
วันที่ได้รับทุนวิจัย (พ.ศ.) | 1 พฤศจิกายน 2562 |
ประเภททุนวิจัย | งบประมาณรายได้ |
สถานะโครงการ | สิ้นสุดโครงการ(ส่งผลผลิตเรียบร้อยแล้ว) |
เลขที่สัญญา | |
เป็นโครงการวิจัยที่ใช้ในการจบการศึกษา | ไม่ใช่ |
เป็นโครงการวิจัยรับใช้สังคม | ไม่ใช่ |
บทคัดย่อโครงการ | อัตลักษณ์วัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของชาวบ้าน ย่านเมืองเก่า อ าเภอสิเกา จังหวัดตรัง บทคัดย่อ เจตนา อินยะรัตน์ และ วรรณกร พลพิชัย การศึกษาอัตลักษณ์วัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของชาวบ้าน ย่านเมืองเก่า อ าเภอสิเกา จังหวัดตรัง มีวัตถุประสงค์ดังนี้เพื่อศึกษาองค์ความรู้อาหารท้องถิ่นย่านเมืองเก่า อ าเภอสิเกา จังหวัดตรังเพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์อาหารท้องถิ่นย่านเมืองเก่า อ าเภอสิเกา จังหวัดตรังเพื่อ ศึกษาแนวทางการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจอาหารท้องถิ่นย่านเมืองเก่า อ าเภอสิเกา จังหวัดตรัง ประชากรที่ใช้ ในการศึกษาคือผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ย่านเมืองเก่าอ าเภอสิเกาได้แก่ ผู้ประกอบร้านอาหาร ประชาชนทั่วไป เจ้า ที่ภาครัฐ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการอธิบายเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่าองค์ ความรู้อาหารท้องถิ่นประกอยด้วยอาหารคาวได้แก่ แกงส้มกุ้ง ปลาทะเลทอดดอกแคหรือมะละกอ แกงกะทิ ขี้เหล็กปลาย่าง ต้มกะทิกุ้งสดยอดผักเหมียง ข้าวหมกไก่ ปลาเค็ม อาหารหวานได้แก่ บัวลอยมะพร้าวอ่อน สาคูกะทิดอกอัญชัน ขนมกวน กล้วยบวชชี มะม่วงเบาแช่อิ่ม ผลไม้ประจ าถิ่นได้แก่ มะพร้าว มะละกอ กล้วย มะม่วงเบา ลองกอง แนวทางการอนุรักษ์อาหารท้องถิ่นมี 8 ด้านได้แก่ ค้นคว้าวิจัย พัฒนา ฟื้นฟู ถ่ายทอด ส่งเสริมกิจกรรม เผยแพร่แลกเปลี่ยน ส่งเสริมปราชญ์ท้องถิ่น แนวทางการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของอาหาร ท้องถิ่น 10 วิธี ได้แก่ การจัดอันดับความมีชื่อเสียงของอาหาร เอกลักษณ์เฉพาะ คุณภาพ รสชาติ ความคิด สร้างสรรค์ ความถูกสุขอนามัย ความหลากหลาย คุณค่าทางโภชนาการ ความเหมาะสมของราคา รูปแบบ แพ็คเกจ ค าส าคัญ: อัตลักษณ์ อาหารท้องถิ่น ย่านเมืองเก่าสิเกา อนุรักษ์ มูลค่างเศรษฐกิจ |
รายละเอียดการนำไปใช้งาน | |
เอกสาร Final Paper(s) |
|
ทีมวิจัย

หัวหน้าโครงการ
ที่ | นักวิจัย | หน่วยงาน | ตำแหน่งในทีม | การมีส่วนร่วม (%) |
---|---|---|---|---|
1 | เจตนา อินยะรัตน์ | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง | หัวหน้าโครงการ | 80 |
2 | ผศ. วรรณกร พลพิชัย | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง | ผู้ร่วมวิจัย | 20 |
บทความประชุมวิชาการ
ที่ | บทความประชุมวิชาการ | ชื่อการประชุม | สถานที่จัดการประชุม | ปีที่จัดการประชุม (พ.ศ.) |
---|---|---|---|---|
1 | อัตลักษณ์วัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของชาวบ้านย่านเมืองเก่า อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง | การประชุมวิชาการระดับชาติ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประจำปี 2565 | คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม | 2565 |