การพัฒนากระบวนการผลิตน้ำมันปลาจากเศษปลานิลเหลือทิ้งด้วยกล้าเชื้อสำเร็จรูปเพื่อเพิ่มรายได้และสร้างความมั่นคงทางอาชีพให้แก่เกษตรกร

Development of fish oil production process from Nile tilapia waste by finished inoculum powder to increase benefit and create a career security for farmers

รายละเอียดโครงการ

ปีงบประมาณ 2563
หน่วยงานเจ้าของโครงการ
ลักษณะโครงการ โครงการใหม่
ประเภทโครงการ โครงการเดี่ยว
ประเภทงานวิจัย โครงการพื้นฐาน
วันที่เริ่มโครงการวิจัย (พ.ศ.) 1 ตุลาคม 2562
วันที่สิ้นสุดโครงการวิจัย (พ.ศ.) 30 กันยายน 2563
วันที่ได้รับทุนวิจัย (พ.ศ.) 7 กุมภาพันธ์ 2563
ประเภททุนวิจัย งบประมาณรายได้
สถานะโครงการ สิ้นสุดโครงการ(ส่งผลผลิตเรียบร้อยแล้ว)
เลขที่สัญญา
เป็นโครงการวิจัยที่ใช้ในการจบการศึกษา ไม่ใช่
เป็นโครงการวิจัยรับใช้สังคม ไม่ใช่
บทคัดย่อโครงการ งานวิจัยนี้ศึกษาสัดส่วนที่เหมาะสม 6 ปัจจัย คือ ส่วนล้าตัว ส่วนล้าไส้ น้้าตาลทรายแดง ผงหัวเชื้อ ระยะเวลาดองปลา และระยะเวลาหลังเติมผงหัวเชื้อ ต่อการผลิตน้้ามันปลานิลโดยใช้เทคนิค Plackett-Burman design ส้าหรับการหมักจะน้าเศษปลาหมักรวมกับกากน้้าตาลและน้้าตาลทรายแดงก่อน เมื่อครบระยะเวลาจึงเติมผงหัวเชื้อร่วมกับน้้าสะอาด (ปริมาตรสุทธิ 2 ลิตร) แล้วหมักต่อจนครบระยะเวลา พบว่าทุกปัจจัยส่งผลต่อการผลิตน้้ามันปลาอย่างมีนัยส้าคัญ (P<0.05) เมื่อหาสภาวะที่เหมาะสมที่สุดพบว่าชิ้นส่วนปลา (น้้าหนัก 0.05-0.25 กิโลกรัม) ชิ้นส่วนล้าไส้และทางเดินอาหาร (น้้าหนัก 0.05-0.25 กิโลกรัม) น้้าตาลทรายแดง (น้้าหนัก 0.10-0.40 กิโลกรัม) จ้านวนผงหัวเชื้อ R. palustris JP255 (น้้าหนัก 0.1-0.3 กรัม) จ้านวนวันในการดองปลาด้วยน้้าตาลทรายแดง (เป็นเวลา 1-3 วัน) จ้านวนวันในการหมักปลาภายหลังการเติมน้้าสะอาดและผงหัวเชื้อ (เป็นเวลา 5-15 วัน) และเติมน้้าจนครบ 1.5 กิโลกรัม สามารถผลิตน้้ามันปลาได้สูงสุดได้ถึง 380 ตารางลูกบาศก์เซนติเมตรและให้ปริมาณร้อยละการต้านอนุมูลอิสระของน้้ามันปลานิลที่ความเข้มข้น 50, 100 และ 200 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร พบว่าให้ค่าร้อยละการต้านอนุมูลอิสระที่ร้อยละ 12.0, 13.4 และ 16.1 ตามล้าดับ ส่วนฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระที่สามารถยับยั้งอนุมูลอิสระได้ครึ่งหนึ่งเป็น 1,461.1 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร และมีสารประกอบฟีโนลิกทั้งหมดเป็น 292.2 มิลลิกรัมกรดแกลลิก/มิลลิกรัม และสามารถตรวจพบกรดไขมันถึง 10 ชนิดโดยมีทั้งกรดลอริก กรดไมริสติก กรดปาล์มิติก กรดปาล์มิโตเลอิก กรดสเตียริก กรดโอเลอิก กรดลิโนเลอิก กรดอะราชิดิก และกรดฟูแรน โดยพบปริมาณกรดโอเลอิก (โอเมกา 9) สูงสุดถึงร้อยละ 35.50 รองลงมาคือกรดปาล์มิติกร้อยละ 27.97 และกรดลิโนเลอิก (โอเมกา 6) ร้อยละ 13.88 และมีกรดลิโนเลนิก (โอเมกา 3) ถึงร้อยละ 2.75 ค้าส้าคัญ : น้้ามันปลา, เศษปลาเหลือทิ้ง และ น้้าหมักชีวภาพ
รายละเอียดการนำไปใช้งาน
เอกสาร Final Paper(s)
  • -

ทีมวิจัย

หัวหน้าโครงการ
ที่ นักวิจัย หน่วยงาน ตำแหน่งในทีม การมีส่วนร่วม (%)
1ผศ.ดร. อังคณา ใสเกื้อคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราชหัวหน้าโครงการ75
2ผศ. รัตติยา สารดิษฐ์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราชผู้ร่วมวิจัย25