โครงการวิจัย
ประสิทธิภาพของเควอซิตินและสารสกัดจากพืชสมุนไพรพลูคาวในการต่อต้านเชื้อทิลาเปียเลคไวรัสในเซลล์เพาะเลี้ยง
Efficiency of quercetion and Houttuynia cordata Thunbextracts against Tilapia lake virus (TiLV) in cell culture
รายละเอียดโครงการ
ปีงบประมาณ | 2563 |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ | |
ลักษณะโครงการ | โครงการใหม่ |
ประเภทโครงการ | โครงการเดี่ยว |
ประเภทงานวิจัย | โครงการพื้นฐาน |
วันที่เริ่มโครงการวิจัย (พ.ศ.) | 1 ตุลาคม 2562 |
วันที่สิ้นสุดโครงการวิจัย (พ.ศ.) | 30 กันยายน 2563 |
วันที่ได้รับทุนวิจัย (พ.ศ.) | 1 ตุลาคม 2562 |
ประเภททุนวิจัย | งบประมาณรายได้ |
สถานะโครงการ | สิ้นสุดโครงการ(ส่งผลผลิตเรียบร้อยแล้ว) |
เลขที่สัญญา | |
เป็นโครงการวิจัยที่ใช้ในการจบการศึกษา | ไม่ใช่ |
เป็นโครงการวิจัยรับใช้สังคม | ไม่ใช่ |
บทคัดย่อโครงการ | ประสิทธิภาพของเควอซิตินและสารสกัดจากพืชสมุนไพรพลูคาวในการต่อต้าน เชื้อทิลาเปียเลคไวรัสในเซลล์เพาะเลี้ยง กิติกานต์ สกุณา1 บทคัดย่อ โรคทิลาเปียเลคไวรัส (Tilapia lake virus disease, TiLVD) ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อการเพาะเลี้ยงปลานิล (Oreochromis niloticus) และสายพันธุ์ผสมปลานิล (Oreochromis spp.) ในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย แม้การใช้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันโรคเป็นแนวทางการในแก้ปัญหาการระบาดของโรคอย่างยั่งยืน แต่ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนดังกล่าวจำหน่ายในทางการค้า เพื่อแก้ปัญหาในการแก้ปัญหาการระบาดของโรคไวรัส การใช้ยาต้านไวรัสเป็นหนึ่งในแนวทางที่มีการศึกษาอย่างกว้างขวาง เควอซิติน (Quercetin) ซึ่งเป็นสารกลุ่ม พอลิฟีนอล ฟลาโวนอยด์ (Polyphenol flavonoids) ที่พบในพืชผัก และสามารถสกัดได้จากสมุนไพรไทยอาทิเช่นพลูคาว งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของเควอซิตินบริสุทธิ์และเควอซิตินที่สกัดจากพลูคาวในการต่อต้านเชื้อทิลาเปียเลคไวรัส รวมถึงระดับความเป็นพิษ ปริมาณของเควอซิติน และสารสกัดพลูคาวที่ผ่านการทดสอบด้วยวิธี MTT assay ว่าไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ จะถูกใช้สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อทิลาเปียเลคไวรัสในเซลล์ปฐมภูมิที่แยกได้จากสมองปลานิล และประเมินผลการต่อต้านเชื้อไวรัสด้วยวิธี Cytopathic effect (CPE) inhibition assay ผลการศึกษาพบว่าเควอซิติน และสารสกัดพลูคาว มีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อทิลาเปียเลคไวรัส ในเซลล์เพาะเลี้ยง คำ |
รายละเอียดการนำไปใช้งาน | |
เอกสาร Final Paper(s) |
|
ทีมวิจัย
ที่ | นักวิจัย | หน่วยงาน | ตำแหน่งในทีม | การมีส่วนร่วม (%) |
---|---|---|---|---|
1 | กิติกานต์ สกุณา | คณะสัตวแพทยศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช | หัวหน้าโครงการ | 60 |
2 | มาริยา เสวกะ | คณะสัตวแพทยศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช | ผู้ร่วมวิจัย | 20 |
3 | วราลี ไกรนรา | คณะสัตวแพทยศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช | ผู้ร่วมวิจัย | 20 |