โครงการวิจัย
การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มเครื่องแกงปักษ์ใต้ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อเพิ่มมูลค่าบนฐานศักยภาพและทรัพยากรพื้นถิ่น
Research and Development of OTOP Product, Southern Curry made in Nakhon Si Thammarat Province to elevate its value on the Basis of Local Capacity and Resources
รายละเอียดโครงการ
ปีงบประมาณ | 2563 |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ | |
ลักษณะโครงการ | โครงการใหม่ |
ประเภทโครงการ | โครงการเดี่ยว |
ประเภทงานวิจัย | โครงการวิจัยและพัฒนา |
วันที่เริ่มโครงการวิจัย (พ.ศ.) | 1 ตุลาคม 2562 |
วันที่สิ้นสุดโครงการวิจัย (พ.ศ.) | 30 กันยายน 2563 |
วันที่ได้รับทุนวิจัย (พ.ศ.) | 1 พฤษภาคม 2563 |
ประเภททุนวิจัย | ทุน บพท. |
สถานะโครงการ | สิ้นสุดโครงการ(ส่งผลผลิตเรียบร้อยแล้ว) |
เลขที่สัญญา | |
เป็นโครงการวิจัยที่ใช้ในการจบการศึกษา | ไม่ใช่ |
เป็นโครงการวิจัยรับใช้สังคม | ไม่ใช่ |
บทคัดย่อโครงการ | ผู้ผลิตเครื่องแกงจำนวนมากในจังหวัดนครศรีธรรมราช ประสบปัญหาใหญ่ร่วมกันคือ ด้าน วัตถุดิบ วัตถุดิบมีราคาผันผวนตามกลไกของตลาด บางฤดูกาลขาดแคลนวัตถุดิบบางชนิด และวัตถุดิบ ไม่มีคุณภาพหรือไม่ปลอดภัย ด้านผลิตภัณฑ์ผู้ผลิตเครื่องแกงจำนวนมากไม่มีมาตรฐานรองรับ ส่งผล ให้ช่องทางการตลาดแคบ ต้องแข่งขันกันในตลาดชุมชนเล็กๆ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นแก้ปัญหาโดย การจัดการวัตถุดิบ และการจัดการผลิตภัณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการปลูกพืชวัตถุดิบ เครื่องแกง และจับคู่ระหว่างผู้ค้าวัตถุดิบและกลุ่มผู้ผลิตเครื่องแกง เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่ม เครื่องแกงให้มีรูปแบบที่เหมาะสม สร้างมาตรฐานวัตถุดิบ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแกงปักษ์ใต้ให้มี มาตรฐาน โดยในส่วนของการจัดการวัตถุดิบ มีการส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่ทำแปลงเกษตร ต้นแบบเพื่อปลูกวัตถุดิบร่วมกับพืชอื่น แล้วส่งวัตถุดิบจำหน่ายให้แก่กลุ่มเครื่องแกง เกิดเป็นแปลง ต้นแบบ 2 แปลง คือ แปลงผสมผสานของนายสมพาส สิทธิศักดิ์ และ แปลงขมิ้นนายสำเริง ศรีสวัสดิ์ การจับคู่ระหว่างผู้ค้าวัตถุดิบและกลุ่มผู้ผลิตเครื่องแกง ผ่านกระบวนการหนุนเสริมของการวิจัย มีการ ทำ MOU เกิดขึ้น 4 คู่ ได้แก่ นายเกรียงศักดิ์ ศรีสวัสดิ์ ผู้ปลูกและรวบรวมขมิ้น อำเภอบางขัน จับคู่กับ วิสาหกิจชุมชนเครื่องแกงบ้านหนองตาม และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องแกงใต้แม่หนูลี่ นายปัญจพล ศรีวิมล ผู้ปลูกและรวบรวมพริกไทย สวนพริกไทยลุงแย้ม อำเภอทุ่งสง จับคู่กับ วิสาหกิจชุมชน เครื่องแกงบ้านหนองตาม และ นางพวงเพ็ญ จันทร์งาม ผู้รวบรวมพริก อำเภอปากพนัง จับคู่กับ วิสาหกิจชุมชนเครื่องแกงบ้านหนองตาม ผลของการสร้างแปลงและจับคู่ สร้างรายได้ให้เกษตรกร/ผู้ รวบรวมเพิ่มขึ้น และแก้ปัญหาของกลุ่มผู้ผลิตเครื่องแกงได้ การจัดการผลิตภัณฑ์/ผู้ผลิตเครื่องแกง กลางน้ำนั้น ผลิตภัณฑ์เครื่องแกงบ้านหนองตามได้รับการปรับปรุงกระบวนการผลิตจะกระทั่ง ผลิตภัณฑ์เครื่องแกงคั่วได้รับการรับรองมาตรฐาน มผช. และผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบตามความต้องการ ของตลาดคือ เครื่องแกง “พอมื้อ” ถูกนำไปจำหน่ายในตลาดโมเดิร์นเทรดคือ ห้างสหไทย งานวิจัยมี กระบวนการหนุนเสริมและผลักดันให้เครื่องแกงใต้แม่หนูลี่เข้ารับการรับรองมาตรฐานอย. และรายได้ ของกลุ่มทั้งสองกลุ่มสูงขึ้นกว่าเดิม |
รายละเอียดการนำไปใช้งาน | |
เอกสาร Final Paper(s) |
|
ทีมวิจัย

หัวหน้าโครงการ
ที่ | นักวิจัย | หน่วยงาน | ตำแหน่งในทีม | การมีส่วนร่วม (%) |
---|---|---|---|---|
1 | สายใจ แก้วอ่อน | คณะอุตสาหกรรมเกษตร ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช | หัวหน้าโครงการ | 23 |
2 | ผศ. ดวงเดือน สงฤทธิ์ | คณะอุตสาหกรรมเกษตร ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช | ผู้ร่วมวิจัย | 7 |
3 | รัตนา อุ่นจันทร์ | คณะเกษตรศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช | ผู้ร่วมวิจัย | 15 |
4 | จารีพร เพชรชิต | คณะเกษตรศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช | ผู้ร่วมวิจัย | 5 |
5 | ผศ. ปรีชา มุณีศรี | คณะอุตสาหกรรมเกษตร ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช | ผู้ร่วมวิจัย | 6 |
6 | สาธิต บัวขาว | คณะเกษตรศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช | ผู้ร่วมวิจัย | 5 |
7 | สุภาษิต ชูกลิ่น | คณะอุตสาหกรรมเกษตร ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช | ผู้ร่วมวิจัย | 8 |
8 | สุวิสา ไชยสุวรรณ | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช | ผู้ร่วมวิจัย | 5 |
9 | บุปผชาติ แต่งเกลี้ยง | คณะเทคโนโลยีการจัดการ ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช | ผู้ร่วมวิจัย | 9 |
10 | นภัสวรรณ เลี่ยมนิมิตร | คณะเกษตรศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช | ผู้ร่วมวิจัย | 8 |
11 | ผศ. ผกามาส ปุรินทราภิบาล | คณะอุตสาหกรรมเกษตร ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช | ผู้ร่วมวิจัย | 9 |