โครงการวิจัย
การปรับปรุงคุณภาพและลดต้นทุนการผลิตจานใบจากสู่การแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนทุ่งกระบือร่วมใจพัฒนา ตำบลทุ่งกระบือ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
Improving Quality and Reducing Manufacturing Costs of Nipa Palm Leaf Plate to Foster Competition of Thung Krabue Ruamchai Pattana Community Enterprise, Thung Krabue Sub-district, Yan Ta Khao District, Trang Province
รายละเอียดโครงการ
ปีงบประมาณ | 2563 |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ | |
ลักษณะโครงการ | โครงการใหม่ |
ประเภทโครงการ | โครงการเดี่ยว |
ประเภทงานวิจัย | โครงการวิจัยและพัฒนา |
วันที่เริ่มโครงการวิจัย (พ.ศ.) | 1 ตุลาคม 2562 |
วันที่สิ้นสุดโครงการวิจัย (พ.ศ.) | 30 กันยายน 2563 |
วันที่ได้รับทุนวิจัย (พ.ศ.) | 15 พฤษภาคม 2563 |
ประเภททุนวิจัย | ทุน บพท. |
สถานะโครงการ | สิ้นสุดโครงการ(ส่งผลผลิตเรียบร้อยแล้ว) |
เลขที่สัญญา | |
เป็นโครงการวิจัยที่ใช้ในการจบการศึกษา | ไม่ใช่ |
เป็นโครงการวิจัยรับใช้สังคม | ไม่ใช่ |
บทคัดย่อโครงการ | ในปัจจุบัน ภาชนะบรรจุอาหารจากใบจากยังจำเป็นต้องพัฒนาขึ้นอีกระดับ เนื่องจากยังมีต้นทุนการผลิตที่สูง ตัวประสานที่ใช้มีประสิทธิภาพการประสานต่ำ และช่องทางในการเข้าถึงสินค้ายังมีน้อย ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาตัวประสานจากวัสดุธรรมชาติและปรับปรุงกระบวนการผลิตให้จานใบจากมีต้นทุนการผลิตลดลงอย่างน้อย 30% โดยมีคุณสมบัติตามมาตรฐานของบรรจุภัณฑ์ด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ 2) เพื่อสร้างและจัดการช่องทางการจัดจำหน่ายจานใบจากในรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ และ 3) เพื่อสร้างกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทุ่งกระบือร่วมใจพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของพื้นที่ใกล้เคียง และสมาชิกกลุ่มมีทักษะความเป็นนวัตกรที่สามารถพัฒนาต่อยอดผลจากงานวิจัยได้ ในการดำเนินงานวิจัยเริ่มจากการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทุ่งกระบือร่วมใจพัฒนา การศึกษาสภาพการทำงานในปัจจุบันเพื่อคำนวณต้นทุนการผลิตจานใบจาก การออกแบบภาชนะบรรจุอาหารจากใบจากรูปแบบใหม่ การดัดแปลงแป้งสาคูเป็นตัวประสานโดยวิธีเชื่อมข้าม การพัฒนานวัตกรชุมชน และการสร้าง Learning and Innovation Platform ซึ่งผลจากการดำเนินงานวิจัยพบว่า ก่อนการปรับปรุงต้นทุนการผลิตจานใบจากต่อหน่วย คือ 11.30 บาทต่อใบ โดยใช้เวลาผลิต 50.13 นาทีต่อใบ และเมื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตพบว่า เวลาการผลิตจานใบจากต่อใบคือ 29.97 นาทีต่อใบ เวลาที่ลดลงคิดเป็น 40.21% ขณะเดียวกัน การใช้แป้งสาคูและแป้งมันสำปะหลังดัดแปลงเป็นตัวประสาน สามารถช่วยลดระยะเวลาการอัดขึ้นรูปและทำให้จานใบจากมีความแข็งแรงมากขึ้น นอกจากนี้ ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับภาชนะบรรจุอาหารจากใบจาก สามารถออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุผลิตภัณฑ์ภาชนะบรรจุอาหารจากใบจากได้ 3 รูปแบบ คือ 1) บรรจุภัณฑ์สำหรับจานใบจาก 2) บรรจุภัณฑ์สำหรับจานอาหารว่างใบจาก และ 3) บรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์กล่องอาหารใบจาก และเพื่อให้ฐานกลุ่มลูกค้ากว้างขวางขึ้นและเข้าถึงสินค้าได้ง่ายและสะดวกขึ้น ได้มีการจัดทำช่องทางการจัดจำหน่ายออนไลน์ของภาชนะบรรจุอาหารจากใบจากผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย อย่างไรก็ตามเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในชุมชนนวัตกรรมและการพึ่งพาตนเองได้ของชุมชน มีการพัฒนานวัตกรชาวบ้านผ่านกระบวนการดำเนินงานวิจัยและฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “นวัตกรบรรจุภัณฑ์อาหารจากใบจากสู่เชิงพาณิชย์” และจากการประเมินผลพบว่า มีสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจฯ ที่มีคุณสมบัติเป็นนวัตกรชาวบ้าน จำนวน 9 คน อีกทั้งยังมีการสร้าง Learning and Innovation Platform โดยจัดทำเป็นคู่มือกรรมวิธีการผลิตภาชนะบรรจุอาหารใบจาก และคู่มือกรรมวิธีการผลิตตัวประสานและสารเคลือบจากแป้งธรรมชาติ เพื่อใช้เป็นเอกสารการเรียนรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่คนในชุมชนใกล้เคียงหรือชุมชนที่มีความสนใจในการผลิตภาชนะบรรจุอาหารจากวัสดุธรรมชาติต่อไป สุดท้าย เมื่อได้ทำการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนในผลิตภัณฑ์จานใบจาก จานอาหารว่างใบจาก และกล่องอาหารใบจาก พบว่า มีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) เท่ากับ 86.48, 41.67 และ 60.04 ตามลำดับ |
รายละเอียดการนำไปใช้งาน | |
เอกสาร Final Paper(s) |
|
ทีมวิจัย

หัวหน้าโครงการ
ที่ | นักวิจัย | หน่วยงาน | ตำแหน่งในทีม | การมีส่วนร่วม (%) |
---|---|---|---|---|
1 | ชาตรี หอมเขียว | คณะวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย สงขลา | หัวหน้าโครงการ | 40 |
2 | รศ. วรพงค์ บุญช่วยแทน | คณะวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย สงขลา | ผู้ร่วมวิจัย | 20 |
3 | ผศ.ดร. ธนากรณ์ ดำสุด | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช | ผู้ร่วมวิจัย | 20 |
4 | บุญรัตน์ บุญรัศมี | คณะบริหารธุรกิจ ราชมงคลศรีวิชัย สงขลา | ผู้ร่วมวิจัย | 20 |