โครงการวิจัย
อัตลักษณ์การแกะรูปหนังตะลุงของช่างในจังหวัดสงขลา
The Identity of Nang Talung Craving of Carvers in Songkhla Province
รายละเอียดโครงการ
ปีงบประมาณ | 2564 |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ | |
ลักษณะโครงการ | โครงการใหม่ |
ประเภทโครงการ | โครงการเดี่ยว |
ประเภทงานวิจัย | โครงการพื้นฐาน |
วันที่เริ่มโครงการวิจัย (พ.ศ.) | 1 ตุลาคม 2563 |
วันที่สิ้นสุดโครงการวิจัย (พ.ศ.) | 30 กันยายน 2564 |
วันที่ได้รับทุนวิจัย (พ.ศ.) | 1 ตุลาคม 2563 |
ประเภททุนวิจัย | งบประมาณรายได้ |
สถานะโครงการ | สิ้นสุดโครงการ(ส่งผลผลิตเรียบร้อยแล้ว) |
เลขที่สัญญา | |
เป็นโครงการวิจัยที่ใช้ในการจบการศึกษา | ไม่ใช่ |
เป็นโครงการวิจัยรับใช้สังคม | ไม่ใช่ |
บทคัดย่อโครงการ | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์การแกะรูปหนังตะลุงของช่างในจังหวัดสงขลา ผู้วิจัยเลือกใช้ทฤษฎีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ แนวคิดอัตลักษณ์ และแนวคิดภูมิปัญญาชาวบ้านภาคใต้มาวิเคราะห์ข้อมูลสนามตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสามารถของช่างในการใช้ภูมิปัญญาเพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่สะท้อนความเป็นตัวตน ผลการศึกษาพบว่า ช่างแกะรูปหนังตะลุงเป็นบุคคลสำคัญที่ทำให้เกิดรูปหนังในการแสดง จึงจำเป็นต้องมีความรอบรู้และทักษะการทำงานฝีมือที่ละเอียดรอบคอบ เน้นความพิถีพิถันในการเก็บรายละเอียดของงานให้ประณีตสวยงาม รวมถึงเข้าใจขนบนิยมและธรรมเนียมปฏิบัติในวัฒนธรรมหนังตะลุง ทั้งนี้ ช่างแกะรูปหนังตะลุงในจังหวัดสงขลามีอัตลักษณ์การสร้างงานที่คล้ายคลึงกันเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากมีรูปต้นแบบที่สืบทอดมาจากครูบาอาจารย์ท่านเดียวกัน คือ รูปหนังของจังหวัดสงขลามีความสูง 60-70 เซนติเมตร ใบหน้ามีลักษณะกลมสั้นหรือเป็นรูปไข่ รูปร่างท้วมถึงอ้วน มีสัดส่วนใกล้เคียงกับคนจริง นอกจากนี้ยังพบว่ามีรูปตัวตลกสำคัญที่เลียนแบบมาจากบุคคลที่มีตัวตนจริงในจังหวัดสงขลา ได้แก่ นายเท่ง นายหนูนุ้ย นายสีแก้ว นายโถ และบังสะหม้อ การทำให้ผู้อื่นสามารถจดจำรูปหนังที่สร้างสรรค์ขึ้นได้จึงเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงการสร้างอัตลักษณ์ของช่างในงานหัตถศิลป์ คำสำคัญ: หนังตะลุง, การแกะรูปหนังตะลุง, ช่างแกะรูปหนังตะลุง, หัตถศิลป์พื้นบ้าน, จังหวัดสงขลา |
รายละเอียดการนำไปใช้งาน | |
เอกสาร Final Paper(s) |
|
ทีมวิจัย
ที่ | นักวิจัย | หน่วยงาน | ตำแหน่งในทีม | การมีส่วนร่วม (%) |
---|---|---|---|---|
1 | กนกวรรณ ขวัญยืน | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช | หัวหน้าโครงการ | 80 |
2 | ผศ. สุรสิทธิ์ ศักดา | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช | ผู้ร่วมวิจัย | 20 |