เก้าอี้สุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ

Health chairs for the elderly

รายละเอียดโครงการ

ปีงบประมาณ 2565
หน่วยงานเจ้าของโครงการ
ลักษณะโครงการ โครงการใหม่
ประเภทโครงการ โครงการเดี่ยว
ประเภทงานวิจัย โครงการพื้นฐาน
วันที่เริ่มโครงการวิจัย (พ.ศ.) 1 ตุลาคม 2564
วันที่สิ้นสุดโครงการวิจัย (พ.ศ.) 30 กันยายน 2565
วันที่ได้รับทุนวิจัย (พ.ศ.) 14 ตุลาคม 2564
ประเภททุนวิจัย งบประมาณรายได้
สถานะโครงการ สิ้นสุดโครงการ(ส่งผลผลิตเรียบร้อยแล้ว)
เลขที่สัญญา
เป็นโครงการวิจัยที่ใช้ในการจบการศึกษา ไม่ใช่
เป็นโครงการวิจัยรับใช้สังคม ไม่ใช่
บทคัดย่อโครงการ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างเก้าอี้สุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ พร้อมทั้งนำมา เปรียบเทียบความพึงพอใจในการใช้งานเก้าอี้แบบเดิมกับเก้าอี้ที่ออกแบบขึ้น โดยเริ่มจากการขอ ใบรับรองจริยธรรมในมนุษย์ หลังจากนั้นทำการรวบรวมข้อมูลความต้องการเก้าอี้ของผู้สูงอายุ ผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบ และบุคลากรทางการแพทย์ จำนวนทั้งหมด 20 คน ซึ่งในการออกแบบ ขนาดของเก้าอี้พิจารณาร่วมกับหลักการยศาสตร์ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับความแข็งแรง และความปลอดภัยจากการใช้งานเก้าอี้สุขภาพเป็นอันดับแรก (99.0 เปอร์เซ็นต์) และรองลงมา (97.0 เปอร์เซ็นต์) ขนาดของเก้าอี้มีความเหมาะสมในการใช้งาน และส่วนปรับระดับข้างหลัง ตามมาด้วย ความผ่อนคลายเมื่อใช้งาน (95.0 เปอร์เซ็นต์) การเคลื่อนย้ายสะดวก (94.0 เปอร์เซ็นต์) ตามมาด้วย อุปกรณ์ในการแจ้งเตือน (91.0 เปอร์เซ็นต์) อุปกรณ์บริหารเท้า (89.0 เปอร์เซ็นต์) และอุปกรณ์ บริหารมือ (87.0 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งในการออกแบบร่วมกับหลักการทางวิศวกรรมและข้อมูลทางสรีระ ของผู้สูงอายุ เก้าอี้ที่ได้จากการออกแบบความสูงจากก้นถึงศรีษะ ความสูงระดับข้อศอก ความสูง ระดับหัวเข่า ความสูงระดับขาอ่อนล่าง ความกว้างของเบาะนั่ง ความลึกของเบาะนั่ง เท่ากับ 77.0, 18.0, 51.0, 41.0, 48.0, 43.0 เซนติเมตร ตามลำดับ เก้าอี้หุ้มด้วยหนังสีเหลืองทอง และมีฟังก์ชั่นการ ใช้งานอื่น ๆ ได้แก่ แท่นวางหนังสือกว้าง ที่นวดมือ แท่นนวดเท้า วิทยุเพลงแบบพกพา ปุ่มเรียก ฉุกเฉินเมื่อต้องการขอความช่วยเหลือ ที่วางแก้วน้ำ และระบบแจ้งเตือนเวลาในการนั่ง หลังจากนั้นทำ การวิเคราะห์ความแตกต่างของความพึงพอใจทางสถิติด้วย โดยใช้สถิติ Paired t-Test พบว่าค่า PValue เท่ากับ 0.000 แสดงว่าความพึงพอใจในการใช้งานเก้าอี้แบบเดิมและเก้าอี้แบบใหม่ที่ออกแบบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 0.05 ซึ่งความพึงพอใจเฉลี่ยจากการใช้เก้าอี้แบบเดิมเท่ากับ 51.80 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ความพึงพอใจในการใช้เก้าอี้แบบใหม่ที่ออกแบบขึ้นเท่ากับ 92.13 เปอร์เซ็นต์ แสดงว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจในการใช้เก้าอี้แบบใหม่ที่ออกแบบมากกว่าแบบเดิม โดย เก้าอี้สุขภาพที่ออกแบบขึ้นเพื่อช่วยป้องกันอาการเมื่อยล้าจากการนั่งและการลดภาวะความเสี่ยงจาก อาการอันไม่พึงประสงค์จากการนั่ง
รายละเอียดการนำไปใช้งาน
เอกสาร Final Paper(s)
  • -

ทีมวิจัย

หัวหน้าโครงการ
ที่ นักวิจัย หน่วยงาน ตำแหน่งในทีม การมีส่วนร่วม (%)
1บัณฑิตา ภู่ทรัพย์มี โปณะทองคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราชหัวหน้าโครงการ60
2สุธาพร เกตุพันธ์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราชผู้ร่วมวิจัย20
3พงษ์พันธ์ ราชภักดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราชผู้ร่วมวิจัย20