โครงการวิจัย
การออกแบบบรรจุภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ของสับปะรด
Packaging design from pineapple waste
รายละเอียดโครงการ
ปีงบประมาณ | 2564 |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ | |
ลักษณะโครงการ | โครงการใหม่ |
ประเภทโครงการ | โครงการย่อย |
โครงการหลัก (Master Project) | การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการผลิตสับปะรด |
ประเภทงานวิจัย | โครงการประยุกต์ |
วันที่เริ่มโครงการวิจัย (พ.ศ.) | 1 ตุลาคม 2563 |
วันที่สิ้นสุดโครงการวิจัย (พ.ศ.) | 30 กันยายน 2564 |
วันที่ได้รับทุนวิจัย (พ.ศ.) | 1 ธันวาคม 2563 |
ประเภททุนวิจัย | ทุน ววน. |
สถานะโครงการ | สิ้นสุดโครงการ(ส่งผลผลิตเรียบร้อยแล้ว) |
เลขที่สัญญา | 013/2/2564 |
เป็นโครงการวิจัยที่ใช้ในการจบการศึกษา | ไม่ใช่ |
เป็นโครงการวิจัยรับใช้สังคม | ไม่ใช่ |
บทคัดย่อโครงการ | การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาคุณสมบัติของวัสดุเหลือใช้จากสับปะรด ในด้านต่าง ๆ ทั้งความคงทน ยืดหยุ่นและความชื้น เมื่อนำมาทดสอบวัสดุและพัฒนากระบวนการผลิตที่ถูกต้อง นำไปสู่การผลิตแผ่นกระดาษสับปะรดด้วยวิธีการอัดขึ้นรูปที่ความหนาของแผ่นอัดร้อนขึ้นรูปที่ความดัน 8kgf/cm2 ที่ความหนา 6 , 9 และ 12 มิลลิเมตร อัตราส่วน ใบสับปะรดตากแห้ง : กาวไอโซไซยาเนต : พาราฟิน เป็นไปตามสูตรดังนี้ 150 : 50 : 25, 180 : 60 : 30 และ 210 : 70 : 35 ตามลำดับ ผลการทดสอบค่าความต้านทานแรงดัด ยี่ห้อ Starllet ผลิตภัณฑ์ประเทศไต้หวัน ตามมาตรฐาน ASTM C293 พบว่าแผ่นอัดใบสับปะรด ความหนา 12 มิลลิเมตร มีค่าการต้านทานแรงดัดมากที่สุด คือ 15.120 MPa ค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อนที่ความหนา 6 มิลลิเมตร มีค่า 0.03957 ± 0.0023 W/m.K ซึ่งเป็นค่าต่ำที่สุด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อนของแผ่นอัดใบสับปะรด เพิ่มขึ้นตามความหนาเช่นกัน แต่เมื่อค่าเพิ่มขึ้นสมบัติการเป็นฉนวนกันความร้อนก็จะลดลง ซึ่งตรงกันข้ามกับค่าความต้านทานแรงดัด แสดงผลการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์การดูดซับเสียง พบว่า แผ่นอัดใบสับปะรดความหนา 12 มิลลิเมตร มีความสามารถในการดูดซับเสียงดีที่สุด เมื่อเทียบกับแผ่นอัดใบสับปะรด ความหนา 6 มิลลิเมตร และ 9 มิลลิเมตร แต่ถึงอย่างไรก็ตามทั้ง 3 สูตร ที่มีความหนาต่างกันก็แตกต่างกันไม่มากนัก อยู่ในช่วงตั้งแต่ 4.205% , 4.416% และ 4.637% ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับวัสดุทางการค้ามีค่าสูงกว่าคอนกรีต แต่น้อยกว่าแผ่นยิปซั่มบอร์ด สำหรับปริมาณค่าสารระเหยตกค้าง อยู่ในช่วง 0.0219 – 0.0546 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งผลการทดสอบแสดงว่า ปริมาณค่าสารระเหยตกค้าง อยู่ในระดับต่ำกว่ามาตรฐานอย่างมาก ซึ่งมาตรฐานกำหนดไว้้ที่ 3,000 mg/m3 สำหรับแนวทางการออกแบบและพัฒนารูปแบบของบรรจุภัณฑ์จากแผ่นสับปะรดอัด จำนวน 4 รูปแบบ ผลการประเมินระดับความพึงพอใจจากกลุ่มผู้บริโภค กลุ่มเกษตรกรและกลุ่มผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์จากกระดาษสับปะรด พบว่า 1) ด้านประโยชน์ใช้สอยของผลิตภัณฑ์ ผู้ประเมินให้ความสำคัญประเด็น การออกแบบมีความสัมพันธ์กับการใช้สอยหลักของผลิตภัณฑ์ ระดับมากที่สุดในรูปแบบที่ 1 รูปแบบที่ 2 และรูปแบบที่ 3 สำหรับรูปแบบที่ 4 อยู่ในระดับน้อย 2) ด้านความงาม ผู้ประเมินให้ความสำคัญประเด็น รูปแบบผลิตภัณฑ์สื่อถึงความเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีความเหมาะสม ระดับมากที่สุด ชี้ให้เห็นถึงความใส่ใจประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่มีมากขึ้นในปัจจุบัน 3) ด้านความคงทนแข็งแรงในการใช้งาน ด้านโครงสร้างและความแข็งแรงทนทานของผลิตภัณฑ์จากวัสดุ และความทนทานการใช้งานในสภาพแวดล้อมปกติ พบว่ารูปแบบบรรจุภัณฑ์รูปแบบที่ 3 อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาเป็นรูปแบบที่ 1 รูปแบบที่ 2 และรูปแบบที่ 4 ตามลำดับ 4) ด้านกระบวนการผลิต พบว่าประเด็นด้านวัสดุสามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น อยู่ในระดับมากที่สุด คำสำคัญ: แผ่นสับปะรดอัดร้อน การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 1อาจารย์สาขาเกษตรประยุกต์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช Production of hardboard and packaging design from pineapple waste Dhannaree Morasilp1 Abstract The objectives of this study were to determine the properties of pineapple waste in terms of durability, flexibility and moisture content. In this study, the properties of pineapple waste were characterized and a suitable production process for pineapple hardboard was developed using extrusion force at 8kgf/cm2 to prepare the samples with a thickness of 6, 9 and 12 mm. The ratios of dried pineapple leaves: isocyanate adhesive: paraffin used in this study were 150:50:25, 180:60:30 and 210:70:35, respectively. The flexural test was performed using a Starllet tester (Taiwan) in accordance with ASTM C293. It was found that the 12 mm thick pineapple hardboard had the highest flexural strength of 15.120 MPa, while the lowest thermal conductivity coefficient of 0.03957 ± 0.0023 W/m.K was found in the 6 mm thick hardboard. This showed that the thermal conductivity coefficient of pineapple leaf hardboard increased with increasing thickness. However, as the thermal conductivity coefficient increased, its thermal insulation properties decreased, in contrast to the flexural strength. According to the sound absorption coefficient test, the 12 mm thick pineapple hardboard showed the best sound absorption compared to 6 mm thick and 9 mm thick pineapple hardboards. However, the thickness of the three samples was slightly different (4.205%, 4.416% and 4.637%, respectively). Compared to commercial materials, the pineapple hardboard samples had higher sound absorption than concrete but less than gypsum board. The pineapple hardboard samples had volatile residues in the range of 0.0219 – 0.0546 mg/m3, which was significantly lower than the standard of 3,000 mg/m3. In this study, 4 designs of packaging were designed and developed from pineapple hardboard. The assessment of the satisfaction level among consumers, farmers and those with expertise in packaging design from pineapple paper showed that 1) in terms of product utility, the relevance score of Design 1, Design 2 and Design was at a highest level, while that of Design 3 was at a low level; 2) on the aesthetic aspect of the design, the participants attached the highest level of importance to the appropriate representation of the product as an eco-friendly product, indicating a greater concern for today’s environmental issues; 3) in terms of structural strength and product durability in normal use, it was found that the durability score of Design 3 was at a highest level, followed by Design 1, Design 2 and Design 4, respectively; and 4) for the production process, it was found that the local availability of material was at a highest level. Keywords: hot press pineapple hardboard, packaging design, eco-friendly products |
รายละเอียดการนำไปใช้งาน | |
เอกสาร Final Paper(s) |
|
ทีมวิจัย
ที่ | นักวิจัย | หน่วยงาน | ตำแหน่งในทีม | การมีส่วนร่วม (%) |
---|---|---|---|---|
1 | ธันย์นรีย์ โมราศิลป์ | คณะเกษตรศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช | หัวหน้าโครงการ | 100 |