ศึกษาการผลิตเส้นด้ายปั่นมือจากใยตาลผสมฝ้าย

A STUDY OF HAND MADE YARNS SPINNING PRODUCTION FOR ASIAN PALMYRA PALM MIXING COTTON

รายละเอียดโครงการ

ปีงบประมาณ 2556
หน่วยงานเจ้าของโครงการ
ลักษณะโครงการ โครงการใหม่
ประเภทโครงการ โครงการเดี่ยว
ประเภทงานวิจัย โครงการวิจัยและพัฒนา
วันที่เริ่มโครงการวิจัย (พ.ศ.) 1 ตุลาคม 2555
วันที่สิ้นสุดโครงการวิจัย (พ.ศ.) 30 กันยายน 2556
วันที่ได้รับทุนวิจัย (พ.ศ.) 1 ตุลาคม 2556
ประเภททุนวิจัย งบประมาณรายได้
สถานะโครงการ สิ้นสุดโครงการ(ส่งผลผลิตเรียบร้อยแล้ว)
เลขที่สัญญา
เป็นโครงการวิจัยที่ใช้ในการจบการศึกษา ไม่ใช่
เป็นโครงการวิจัยรับใช้สังคม ไม่ใช่
บทคัดย่อโครงการ ศึกษาการผลิตเส้นด้ายปั่นมือจากใยตาลผสมฝ้าย พันธ์ยศ วรเชฐวราวัตร์1 พรโพยม วรเชฐวราวัตร์2 และภัทรภา จ้อยพจน์3 บทคัดย่อ การทดลองครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการเตรียมเส้นใยลูกตาลโตนดสำหรับทำวัตถุดิบในการปั่นเส้นด้าย และศึกษาอัตราส่วนผสมระหว่างเส้นใยลูกตาลโตนดกับเส้นใยฝ้ายในอัตราส่วน 40:60, 50:50, 40:60 ในการปั่นเส้นด้ายด้วยมือ เพื่อหาความสามรถในการปั่นเป็นเส้นด้ายและสมบัติผ้า โดยการศึกษาการเตรียมเส้นใยลูกตาลโตนดด้วยวิธีการหมักด้วยเอ็นไซน์และหัวเชื้อจุลินทรีย์ EM กำหนดทดลองหมักเส้นใย 10 วัน 14 วัน และมีหัวข้อการทดลองในการเติมสารอาหาร กากน้ำตาล น้ำตาลโตนด ในน้ำหมักทั้งที่ใช้เอ็นไซม์ (Enzyme) และหัวเชื้อจุลินทรีย์ EM ผลการหมักเส้นใยภายใต้สภาพน้ำขัง 14 วัน โดยใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ EM และให้สารอาหาร พบว่าเส้นใยมีความละเอียด เส้นใยสะอาด มากกว่าที่หมัก 10 วัน และไม่ใส่สารอาหาร ผลการปั่นด้ายใยลูกตาลผสมฝ้ายในอัตราส่วนที่ต่างกัน 3 รูปแบบ ไม่มีผลต่อการปั่นเส้นด้ายด้วยมือสามารถปั่นเส้นด้ายได้ไม่แตกต่างกัน แต่จะมีผลต่อความเหนียวเส้นด้ายจากผลทดสอบ ปริมาณส่วนผสมเส้นใยลูกตาลโตนดที่เพิ่มมากขึ้นจะทำให้เส้นด้ายมีความเหนียวเพิ่มขึ้นมากด้วย แต่จะทำให้ผิวสัมผัสของผ้ามีความกระด้างเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน การนำผ้าไปใช้ประโยชน์ควรเลือกนำไปใช้กับผ้าที่นำมาทำเป็นผ้าเคหะสิ่งทอ เช่นผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ ผ้าปูโต๊ะ ผ้าม่าน และผ้าตกแต่งที่ต้องการผิวสัมผัสที่แตกต่าง
รายละเอียดการนำไปใช้งาน
เอกสาร Final Paper(s)
  • -

ทีมวิจัย

หัวหน้าโครงการ
ที่ นักวิจัย หน่วยงาน ตำแหน่งในทีม การมีส่วนร่วม (%)
1ผศ. พันธ์ยศ วรเชฐวราวัตร์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย สงขลาหัวหน้าโครงการ70
2ภัทราภา จ้อยพจน์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย สงขลาผู้ร่วมวิจัย10
3ผศ. พรโพยม วรเชฐวราวัตร์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย สงขลาผู้ร่วมวิจัย20