นวัตกรรมกระชังรักษ์โลกจากขยะพลาสติกไซเคิลสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมเพาะลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน

Green Fish Cage Innovation from Recycled Plastic Waste for Sustainable Aquaculture Industry Development

รายละเอียดโครงการ

ปีงบประมาณ 2566
หน่วยงานเจ้าของโครงการ
ลักษณะโครงการ โครงการใหม่
ประเภทโครงการ โครงการเดี่ยว
ประเภทงานวิจัย โครงการวิจัยและพัฒนา
วันที่เริ่มโครงการวิจัย (พ.ศ.) 1 ตุลาคม 2565
วันที่สิ้นสุดโครงการวิจัย (พ.ศ.) 30 กันยายน 2566
วันที่ได้รับทุนวิจัย (พ.ศ.) 1 พฤศจิกายน 2565
ประเภททุนวิจัย ทุน ววน.
สถานะโครงการ แล้วเสร็จ(ค้างส่งผลผลิต)
เลขที่สัญญา
เป็นโครงการวิจัยที่ใช้ในการจบการศึกษา ไม่ใช่
เป็นโครงการวิจัยรับใช้สังคม ไม่ใช่
บทคัดย่อโครงการ

นวัตกรรมกระชังรักษ์โลกจากขยะพลาสติกรีไซเคิลสู่การพัฒนาอุตสาหกรรม
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน

 

กัตตินาฏ  สกุลสวัสดิพันธ์1 กัตติเนตร สกุลสวัสดิพันธ์2 ฌานิกา แซ่แง่ ชูกลิ่น1
สุพัชชา ชูเสียงแจ้ว1 และอัจฉรสิริ อนุมณ3

 

บทคัดย่อ

 

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแนวทางการสร้างนวัตกรรมกระชังรักษ์โลกจากพลาสติกรีไซเคิลสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน โดยใช้พลาสติกประเภทโพลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง: เอสดีพีอี (HDPE) ที่มีอัตราส่วนผสมระหว่างเม็ดพลาสติกใหม่และเม็ดพลาสติกรีไซเคิลจำนวน 3 ชุดการทดลอง คือ  70:30  50:50 และ  30:70  จากการศึกษาพบว่าทั้ง.3.ชุดการทดลอง
มีความสามารถในการขึ้นรูปกระชังต้นแบบสำหรับการเลี้ยงสัตว์น้ำได้ เมื่อดำเนินการทดสอบในสภาพธรรมชาติที่มีสภาพอากาศแปรปรวน
กระชังต้นแบบทั้ง 3 ชุดการทดลองสามารถทนต่อสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายได้เป็นอย่างดี มีความเหมาะสมสำหรับการเลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งและการเลี้ยงสัตว์น้ำทะเลลึกในประเทศไทย กระชังต้นแบบไม่ชักนำให้เกิดสุขภาวะที่ไม่ดีต่อสัตว์น้ำ และไม่พบปริมาณตะกั่วและแคดเมียมสะสมในกล้ามเนื้อและตับปลาทุกชุดการทดลอง ผลการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของกระชังเลี้ยงสัตว์น้ำแบบดั้งเดิมและกระชังต้นแบบ พบว่า กระชังต้นแบบมีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) มากกว่ากระชังแบบดั้งเดิม โดยกระชังต้นแบบชุดการทดลองที่ 1 2 3 และกระชังแบบดั้งเดิมมีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) เท่ากับ 134.71  134.81  134.91 และ 94.51 ตามลำดับ การศึกษาการประยุกต์ใช้กระชังต้นแบบสู่การพัฒนาการท่องเที่ยว
เชิงนิเวศ
ในอำเภอสิเกา จังหวัดตรัง สามารถจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศกระชังรักษ์โลก (Half Day Tour) เป็น 2 ช่วงเวลา เช้าและบ่าย เนื่องจากต้องตรวจสอบช่วงเวลาน้ำขึ้นน้ำลง และมีผลการสำรวจความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศกระชังรักษ์โลก ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ =4.54±0.56)

 

คำสำคัญ: กระชังปลา  อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ  การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ  ผลตอบแทนจากการลงทุน

 

รายละเอียดการนำไปใช้งาน
เอกสารประกอบโครงการ
  • -

ทีมวิจัย

หัวหน้าโครงการ
ที่ นักวิจัย หน่วยงาน ตำแหน่งในทีม การมีส่วนร่วม (%)
1กัตตินาฏ สกุลสวัสดิพันธ์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรังหัวหน้าโครงการ55
2ผศ.ดร. สุพัชชา ชูเสียงแจ้วคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรังผู้ร่วมวิจัย15
3ผศ.ดร. ฌาณิกา แซ่แง่ ชูกลิ่นคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรังผู้ร่วมวิจัย15
4กัตติเนตร สกุลสวัสดิพันธ์คณะสัตวแพทยศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราชผู้ร่วมวิจัย15