โครงการวิจัย
การออกแบบและพัมนาต้นแบบบรรจุภัณฑ์จากเปลือกผลไม้เศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
Design and development of prototype packaging from economic fruit peel to add value agricultural products in Nakhon Si Thammarat Province.
รายละเอียดโครงการ
ปีงบประมาณ | 2566 |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ | |
ลักษณะโครงการ | โครงการใหม่ |
ประเภทโครงการ | โครงการเดี่ยว |
ประเภทงานวิจัย | โครงการประยุกต์ |
วันที่เริ่มโครงการวิจัย (พ.ศ.) | 1 ตุลาคม 2565 |
วันที่สิ้นสุดโครงการวิจัย (พ.ศ.) | 30 กันยายน 2566 |
วันที่ได้รับทุนวิจัย (พ.ศ.) | 1 พฤศจิกายน 2565 |
ประเภททุนวิจัย | ทุน ววน. |
สถานะโครงการ | แล้วเสร็จ(ค้างส่งผลผลิต) |
เลขที่สัญญา | 005/2566 |
เป็นโครงการวิจัยที่ใช้ในการจบการศึกษา | ไม่ใช่ |
เป็นโครงการวิจัยรับใช้สังคม | ไม่ใช่ |
บทคัดย่อโครงการ | งานวิจัยครั้งนี้เป็นการออกแบบและพัฒนาต้นแบบบรรจุภัณฑ์จากเปลือกผลไม้เศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มมูลค่า สินค้าเกษตร ในจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรเพื่อสร้างผลตอบแทนเชิงเศรษฐกิจและ ประยุกต์ใช้นวัตกรรมด้านการเกษตรคู่ขนานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น มาการจัดการเกษตรด้วยนวัตกรรม โดยให้ ความสำคัญกับการพัฒนากลุ่มสินค้าเกษตรในกลุ่มผลไม้เศรษฐกิจของนครศรีธรรมราช คือ ทุเรียนและมังคุด เป็นแนวทางการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาขยะและพัฒนาวัสดุทดแทนที่สามารถย่อยสลาย ได้โดยการนำวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร พบว่า ผลการศึกษาสมบัติเชิงกายภาพ (Physical properties) จาก ผลการทดลองจะเห็นได้ว่า แผ่นเปลือกทุเรียน และแผ่นเปลือกมังคุด ใช้กาวไอโซไซยาเนต และพาราฟิน เป็น วัสดุประสานช่วยเติมเต็มในช่องว่างของวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรทั้ง 2 ชนิด ในเรื่องของความหนาแน่น ความหนา และการดูดซึมน้ำ เนื่องจากการประสานตัวของชั้นวัสดุมีขนาดเล็กใหญ่คละกันไปทำให้เกิดการเติม เต็มช่องว่างภายในตัววัสดุ ประกอบกับเปลือกทุเรียนมีชั้นของเส้นใยเยอะกว่ามังคุด ลักษณะโครงสร้างมีการ ยืดหยุ่นได้ดีกว่าเปลือกมังคุด ดังนั้นการเติมวัสดุประสานดังกล่าวช่วยในเรื่องการประสานตัวระหว่างวัสดุที่มี ลักษณะหยาบและละเอียดที่แตกต่างกันได้อย่างลงตัว ทำให้เกิดรูพรุนน้อยลง ทั้งยังมีการกระจายตัวของสาร เคลือบผิวกันซึมที่ทั่วถึงขณะอัดแผ่นเปลือกทุเรียนและเปลือกมังคุด ด้วยกระบวนการขึ้นอัดความร้อนขึ้นรูป แผ่นวัสดุ เนื่องจากการกานรเพิ่มความหนาแน่นของแผ่นเปลือกวัสดุทั้ง 2 ชนิด จะส่งผลให้การจับตัวหรือ สัมผัสระหว่างชิ้นเปลือก (เส้นใย) ที่มีสารยึดเกาะอยู่ใกล้ชิดแน่นขึ้นในระหว่างการอัดร้อน ทำให้เกิดการเชื่อม ตัวกันได้ดีกว่า คำสำคัญ: แผ่นมังคุดและแผ่นทุเรียนอัดร้อน การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 1 ห |
รายละเอียดการนำไปใช้งาน | |
เอกสารประกอบโครงการ |
|
ทีมวิจัย
ที่ | นักวิจัย | หน่วยงาน | ตำแหน่งในทีม | การมีส่วนร่วม (%) |
---|---|---|---|---|
1 | ธันย์นรีย์ โมราศิลป์ | คณะเกษตรศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช | หัวหน้าโครงการ | 80 |
2 | อาทิตย์ สวัสดิรักษา | คณะเกษตรศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช | ผู้ร่วมวิจัย | 20 |