นวัตกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพจากพริกเพื่อเร่งสีกุ้งแคระสวยงามเชิงพาณิชย์ในจังหวัดนครศรีธรรมราช

Innovative development of chili pepper bioproducts to accelerate color of ornamental dwarf shrimp for commercial in Nakhon sri thammarat province

รายละเอียดโครงการ

ปีงบประมาณ 2566
หน่วยงานเจ้าของโครงการ
ลักษณะโครงการ โครงการใหม่
ประเภทโครงการ โครงการเดี่ยว
ประเภทงานวิจัย โครงการประยุกต์
วันที่เริ่มโครงการวิจัย (พ.ศ.) 1 ตุลาคม 2565
วันที่สิ้นสุดโครงการวิจัย (พ.ศ.) 30 กันยายน 2566
วันที่ได้รับทุนวิจัย (พ.ศ.) 1 ตุลาคม 2565
ประเภททุนวิจัย งบประมาณรายได้
สถานะโครงการ สิ้นสุดโครงการ(ส่งผลผลิตเรียบร้อยแล้ว)
เลขที่สัญญา018/2566
เป็นโครงการวิจัยที่ใช้ในการจบการศึกษา ไม่ใช่
เป็นโครงการวิจัยรับใช้สังคม ไม่ใช่
บทคัดย่อโครงการ

กุ้งแคระถูกนิยมเลี้ยงเป็นกุ้งสวยงาม ส่วนใหญ่อยู่ในสกุล Neocaridina มีขนาดเล็ก มีสีซีดจางหรือมีสีสันเพียงเล็กน้อยส่งผลทาให้ราคาถูก ปัจจุบันนิยมใช้การเสริมแคโรทีนอยด์ในอาหารกุ้ง เพื่อเพิ่มสีให้เข้มขึ้นเพื่อเพิ่มมูลค่า ในการศึกษาครั้งนี้ได้นาพริกชี้ฟ้ามาสกัดหยาบด้วยวิธีหมักแช่ (Maceration) สารสกัดที่ได้มีค่าการดูดกลืนแสงในช่วง 420-426, 450-453 และ 470-475 nm ซึ่งเป็นค่าการดูดกลืนแสงของ β−Carotene สารสกัดถูกนาไปกักเก็บในแคลเซียมอัลจิเนตและเคลือบกับอาหารกุ้งสาเร็จรูปให้มีความเข้มข้น 0.000, 44.025, 88.050, 132.080 และ 176.100 mg/kg เพื่อนาไปเลี้ยงกุ้งแคระทาการทดลองชุดการทดลองละ 8 ซ้า ซึ่งจะมีกุ้งในหน่วยทดลอง (กล่องพลาสติก) จานวน 10 ตัว/กล่อง กล่องพลาสติกจะมีขนาด 20×28×11.8 cm ปริมาตรน้าในกล่องเลี้ยง 5 ลิตร โดยเลี้ยงในระบบน้าหมุนเวียนแบบปิด โดยใช้กุ้งเริ่มต้นทดลองน้าหนักเฉลี่ย 1.013 กรัมต่อกล่อง ให้อาหารกุ้งกินจนอิ่มวันละ 2 เวลา เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่ากุ้งแคระที่ได้อาหารที่เสริมสารสกัดหยาบแคโรทีนอยด์จากพริกชี้ฟ้าที่ผ่านกระบวนการกักเก็บ (Encapsulation Crude Carotenoid Extract from Pepper ; ECCP) ไม่ส่งผลต่ออัตราการเจริญเติบโต (p>0.05) ในส่วนของสีพบว่ากุ้งแคระที่ได้รับอาหารที่เสริม ECCP ที่ระดับ 176.100 mg/kg ส่งผลให้มีค่าสีความสว่าง ค่าสีแดง และค่าสีเหลือง สูงกว่าชุดการทดลองอื่น (p<0.05)

คาสาคัญ: กุ้งสวยงาม การเพิ่มสี พริกชี้ฟ้า สารสกัด การเพิ่มมูลค่า

……………………………………………………………………………

รายละเอียดการนำไปใช้งาน
เอกสาร Final Paper(s)
  • -

ทีมวิจัย

ที่ นักวิจัย หน่วยงาน ตำแหน่งในทีม การมีส่วนร่วม (%)
1สิริพงษ์ วงศ์พรประทีปคณะเกษตรศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราชหัวหน้าโครงการ100