โครงการวิจัย
การพัฒนานวัตกรรมและยกระดับนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพและคุณภาพการเรียนรู้ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดสงขลา
The Innovative Development and Enhancing the Digital Learning Ecosystem to Develop Vocational Competency and Learning Quality in Education Sandbox of Songkhla Province
รายละเอียดโครงการ
ปีงบประมาณ | 2565 |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ | |
ลักษณะโครงการ | โครงการใหม่ |
ประเภทโครงการ | โครงการชุด |
ประเภทงานวิจัย | โครงการวิจัยและพัฒนา |
วันที่เริ่มโครงการวิจัย (พ.ศ.) | 1 ตุลาคม 2564 |
วันที่สิ้นสุดโครงการวิจัย (พ.ศ.) | 30 กันยายน 2565 |
วันที่ได้รับทุนวิจัย (พ.ศ.) | 1 เมษายน 2565 |
ประเภททุนวิจัย | ทุน บพท. |
สถานะโครงการ | อยู่ระหว่างทำสัญญา |
เลขที่สัญญา | A15F650045 |
เป็นโครงการวิจัยที่ใช้ในการจบการศึกษา | ไม่ใช่ |
เป็นโครงการวิจัยรับใช้สังคม | ไม่ใช่ |
บทคัดย่อโครงการ | “การพัฒนานวัตกรรมและยกระดับนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพและคุณภาพการเรียนรู้ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดสงขลา” มีกรอบแนวคิดของแผนการดำเนินงาน ซึ่งมีความเชื่อมโยงของแผนงานย่อยภายใต้แผนงานหลักที่สอดรับกับยุทธศาสตร์ในการปฏิรูปสู่การปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ยุทธศาสตร์การศึกษาขั้นพื้นฐาน 20 ปี (พ.ศ. 2561- 2580) ที่มีการวางแผนการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ การผลิตและพัฒนากำลังคน โดยให้ความสำคัญกับคุณภาพนักเรียน คุณภาพครู คุณภาพผู้บริหารสถานศึกษา คุณภาพสถานศึกษา คุณภาพพื้นที่ และคุณภาพสำนักงานส่วนกลาง โดยมุ่งปรับปรุงปัจจัยสนับสนุน และกระบวนการจัดการศึกษา ด้วยการพัฒนาคุณภาพครู ให้เป็นผู้เรียนรู้ มีจิตวิญญาณความเป็นครู เป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรม และมีทักษะการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ทางดิจิทัล เพื่อยกระดับการเรียนรู้คุณภาพการศึกษาของเด็ก เยาวชน และคนในพื้นที่ จังหวัดสงขลา เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ดังนั้น “การพัฒนานวัตกรรมและยกระดับนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพและคุณภาพการเรียนรู้ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดสงขลา” มีเป้าหมายเพื่อสร้างกลไกความร่วมมือในพื้นที่ในการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษา และพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมโดยใช้พลังจตุรภาคีเครือข่ายในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสงขลา และ 2) เพื่อพัฒนานวัตกรรมและยกระดับนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพและคุณภาพการเรียนรู้ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดสงขลา มีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย ขั้นที่ 1: สร้างการมีส่วนร่วม ร่วมกับจตุรภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในพื้นที่จังหวัดสงขลา ขั้นที่ 2: จัดทำรูปแบบการสร้างกลไกความร่วมมือและการบริหารจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพ ขั้นที่ 3: ถ่ายทอดนโยบายสู่สถานศึกษา ขั้นที่ 4: พัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มทางการศึกษา ขั้นที่ 5: พัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชา ขั้นที่ 6: พัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้ ขั้นที่ 7: พัฒนาระบบการวัดผลประเมินผล ขั้นที่ 8: การติดตามและประเมิน และขั้นที่ 9: จัดงานมหกรรมพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสงขลา Educational Fair |
รายละเอียดการนำไปใช้งาน | - สถานศึกษาที่เชื่อมโยงการสะสมหน่วยการเรียนรู้ระหว่างการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาอาชีวศึกษา - ครู และนักเรียนที่ได้รับการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพตามรูปแบบกลไกความร่วมมือ - ผู้เรียนสามารถเทียบโอนความรู้/ประสบการณ์/สะสมหน่วยการเรียนรู้ กับสถานศึกษา/เทียบคุณวุฒิวิชาชีพ กับสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานหรือสถาน |
เอกสารประกอบโครงการ |
|
ทีมวิจัย
ที่ | นักวิจัย | หน่วยงาน | ตำแหน่งในทีม | การมีส่วนร่วม (%) |
---|---|---|---|---|
1 | ผศ.ดร. ทรงนคร การนา | คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ราชมงคลศรีวิชัย สงขลา | หัวหน้าโครงการ | 55 |
2 | ผศ. อภิชญา ขวัญแก้ว | คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ราชมงคลศรีวิชัย สงขลา | ผู้ร่วมวิจัย | 15 |
3 | นางสาวฤทัย ประทุมทอง | คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ราชมงคลศรีวิชัย สงขลา | ผู้ร่วมวิจัย | 15 |
4 | ผศ.ดร. ฉารีฝ๊ะ หัดยี | คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ราชมงคลศรีวิชัย สงขลา | ผู้ร่วมวิจัย | 15 |