การพัฒนาเครื่องปอกเปลือกลูกจันทร์เทศ

The development of nutmeg peeler machine

รายละเอียดโครงการ

ปีงบประมาณ 2566
หน่วยงานเจ้าของโครงการ
ลักษณะโครงการ โครงการใหม่
ประเภทโครงการ โครงการเดี่ยว
ประเภทงานวิจัย โครงการวิจัยและพัฒนา
วันที่เริ่มโครงการวิจัย (พ.ศ.) 1 ตุลาคม 2565
วันที่สิ้นสุดโครงการวิจัย (พ.ศ.) 30 กันยายน 2566
วันที่ได้รับทุนวิจัย (พ.ศ.) 14 ธันวาคม 2565
ประเภททุนวิจัย งบประมาณรายได้
สถานะโครงการ สิ้นสุดโครงการ(ส่งผลผลิตเรียบร้อยแล้ว)
เลขที่สัญญา
เป็นโครงการวิจัยที่ใช้ในการจบการศึกษา ไม่ใช่
เป็นโครงการวิจัยรับใช้สังคม ไม่ใช่
บทคัดย่อโครงการ จันทร์เทศ มีชื่อพื้นบ้านว่า ลูกจันทร์เทศ ชื่อเรียกในภาษาอังกฤษคือ Nutmeg มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Myristica fragrans Linn. ต้นจันทร์เทศสามารถขึ้นได้ในสภาพของดินเกือบทุกชนิด แต่ดินที่เหมาะสมควรเป็นดินร่วนปนทราย ที่มีอินทรีย์วัตถุสูง ต้นจันทร์เทศสามารถเจริญได้ดีในเขตภูมิอากาศร้อนชื้น โดยจันทน์เทศจัดอยู่ในกลุ่มพืชสมุนไพรและเป็นพืชพื้นถิ่นที่มีเฉพาะภาคใต้ ซึ่งปัจจุบันพบว่าปลูกมากในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ชุมพร สุราษฎร์ธานี พังงา กระบี่ และพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ มีสรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนไทยที่มีกลิ่นหอม รสเปรี้ยวฝาด ร้อน มีสรรพคุณบำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ธาตุพิการ ขับลม แก้จุกเสียด แก้กำเดา แก้ท้องร่วง แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ปวดมดลูก บำรุงเลือด เป็นต้น ทุกส่วนของไม้ชนิดนี้สามารถนำมาทำประโยชน์ได้ทั้งหมด คือส่วนของเนื้อหุ้มเมล็ดนำมาบริโภคได้โดยนิยมนำมาทำ จันฝอย จันดอง จันแช่อิ่ม ลูกและดอกจันทำเป็นเครื่องเทศ แต่งกลิ่นอาหาร ประโยชน์ทางยาใช้ลดไข้ บำรุงตับและปอด ขับลม แก้ปวดมดลูก ส่วนดอกจันใช้บำรุงโลหิตบำรุงผิวหนัง ขับลม ส่วนของเมล็ดที่มีสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ส่วนของดอกจันทร์ คือ รกหุ้มเมล็ดสีแดงเข้ม มีสรรพคุณใช้บำรุงโลหิต (กรมวิชาการเกษตร, 2558) ในประเทศไทยจะพบปลูกครั้งแรกในพื้นที่ส่วนหนึ่งของ ตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งปัจจุบันชาวบ้านเรียกชื่อบ้านบริเวณนี้ว่า “บ้านสวนจันทน์” ปัจจุบันมีการนำจันทน์เทศมาแปรรูเป็นผลิตภัณฑ์จากจันทน์เทศ เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนโดยมีการจัดตั้งกลุ่มแปรรูปลูกจันทร์เทศ ทั้งที่รวมกลุ่มกันเป็นวิสาหกิจชุมชนหรือกลุ่มแม่บ้านชุมชน โดยผลิตภัณฑ์จันทร์เทศ ได้แก่ จันทร์เส้น จันทร์แช่อิ่ม จันทร์หยี จันทร์กวน เนื้อจันทน์เทศตากแห้ง แยมจันทน์เทศ จันทน์สามรส ลูกอมจันทน์เทศ โดยมีการจำหน่ายในชุมชนและได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับห้าดาว ซึ่งเป็นที่นิยมของผู้บริโภค การจำหน่ายจันทน์เทศ มีการจำหน่ายทั้งรูปของผลสดและการแปรรูป โดยจำหน่ายผลจันทน์เทศสดมีแหล่งจำหน่าย ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดระนอง จังหวัดตรัง จังหวัดอ่างทอง จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดสงขลา กรุงเทพมหานครและส่งออกไปจำหน่ายยังประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ อินเดีย และมาเลเซีย จากการสำรวจความต้องการชุมชน ภาพที่ 1 ลูกจันทน์เทศ จากศึกษาการแปรรูปจันทน์เทศของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรแปรรูปจันทน์เทศบ้านร่อนนา ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 47/2 หมู่ที่ 2 ตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่าแปรรูปลูกจันทน์เทศ มีขั้นตอนการผลิตที่ต้องใช้เวลามากเนื่องจากขั้นตอนการผลิตทั้งหมดยังเป็นกระบวนการผลิตแบบดั้งเดิมที่ใช้แรงงานคนเป็นหลัก อีกทั้งแรงงานหายากไม่เพียงพอทำให้แรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานผู้สูงอายุ ทำมีกำลังการผลิตน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการ โดนเฉพาะในขั้นตอนการปอกเปลือกลูกจันทน์เทศที่ต้องใช้เวลานาน โดย พงษ์พันธ์ ราชภักดีและคณะ(2563) ได้ศึกษาและสร้างเครื่องปอกเปลือกลูกจันทน์เทศ โดยใช้หลักการให้ผลจันทน์เทศหมุนขัดกับหินกากเพชรที่เคลือบติดบริเวณผิวด้านในถัง แต่พบปัญหาในส่วนของกระบวนการเคลือบหินกากเพชร ทำให้ต้นทุนตัวเครื่องมีราคาสูง ทำให้นำไปสู่การใช้ประโยชน์กับกลุ่มแปรรูปจันทน์เทศอื่นๆ หรือเชิงพาณิชย์ได้ยาก จากปัญหาดังกล่าวคณะผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการพัฒนาเครื่องปอกเปลือกลูกจันทน์เทศให้มีต้นทุนการสร้างตัวเครื่องที่ต่ำลงและสามารถนำไปสู่การใช้ประโยชน์กับกลุ่มแปรรูปจันทน์เทศอื่นๆ หรือเชิงพาณิชย์ได้ โดยการใช้หลักการปอกเปลือกด้วยการขัดผิวด้วยตะแกรง สแตนเลสที่ยึดติดภายในถังปอกเปลือก แทนการขัดกับหินกากเพชรที่เคลือบติดบริเวณผิวด้านในถัง เพื่อเป็นการยกระดับกระบวนการแปรรูปอาหารสมุนไพรประจำถิ่นจากจันทน์เทศ ทดแทนการใช้แรงงานคน เป็นการส่งเสริมการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตระดับชุมชน สามารถผลิตและมีศักยภาพตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและเพิ่มรายได้เสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็ง สอดคล้องกับนโยบายและแผนพัฒนาจังหวัดนครศรีธรรมราช ในยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเกษตรและอุตสาหกรรมสู่มาตรฐานครบวงจรและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้จุดยืน “นครศรีธรรมราชเป็นเมืองเกษตรนวัตกรรมและอุตสาหกรรมสีเขียว” เพื่อการเสริมสร้างการเกษตรที่เป็นธรรมปลอดภัยและมั่นคงทางอาหารและสมุนไพร การสร้างจิตสำนึกผู้ผลิตและผู้บริโภค กำหนดมาตรฐานเกษตรปลอดภัย สร้างมูลค่าเพิ่มการผลิตและสร้างมาตรฐาน ทั้งนี้เพื่อให้ชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีมีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเอง ตลอดจนอยู่ดีมีสุข
รายละเอียดการนำไปใช้งาน ทดลองและประเมินผลความพึงพอใจในการใช้งานเครื่องปอกเปลือกลูกจันทน์เทศสำหรับการแปรรูปจันทน์เทศ และนำไปถ่ายทอดเทคโนโลยีกับวิสาหกิจชุมชนวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรแปรรูปจันทน์เทศบ้านร่อนนา ตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นชุมชนต้นแบบ
เอกสาร Final Paper(s)
  • -

ทีมวิจัย

ที่ นักวิจัย หน่วยงาน ตำแหน่งในทีม การมีส่วนร่วม (%)
1พงษ์พันธ์ ราชภักดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราชหัวหน้าโครงการ60
2รุ่งโรจน์ จีนด้วงคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราชผู้ร่วมวิจัย20
3บัณฑิตา ภู่ทรัพย์มี โปณะทองคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราชผู้ร่วมวิจัย20