โครงการวิจัย
การพัฒนาสารสกัดหยาบจากพริกไทยพันธุ์ปะเหลียนไฟโตโซมในรูปแคปซูลนิ่ม เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีฤทธิ์ในการปรับเปลี่ยนระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย
Development of Trang pepper cultivation in Palian crude extracted in phytosome Soft gel Capsule dietary supplement product as immunomodulatory effects
รายละเอียดโครงการ
ปีงบประมาณ | 2566 |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ | |
ลักษณะโครงการ | โครงการใหม่ |
ประเภทโครงการ | โครงการเดี่ยว |
ประเภทงานวิจัย | โครงการประยุกต์ |
วันที่เริ่มโครงการวิจัย (พ.ศ.) | 1 ตุลาคม 2565 |
วันที่สิ้นสุดโครงการวิจัย (พ.ศ.) | 30 กันยายน 2566 |
วันที่ได้รับทุนวิจัย (พ.ศ.) | 1 พฤศจิกายน 2565 |
ประเภททุนวิจัย | ทุน ววน. |
สถานะโครงการ | สิ้นสุดโครงการ(ส่งผลผลิตเรียบร้อยแล้ว) |
เลขที่สัญญา | |
เป็นโครงการวิจัยที่ใช้ในการจบการศึกษา | ไม่ใช่ |
เป็นโครงการวิจัยรับใช้สังคม | ไม่ใช่ |
บทคัดย่อโครงการ | เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากความผิดปกติของระบบเผาผลาญอาหาร ส่งผลต่อการผลิตอินซูลินของร่างกาย ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ จะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากกว่าคนปกติ งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาสารประกอบทางเคมี ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ α-glucosidase และ การกระตุ้นภูมิคุ้มกันของพริกตรัง 3 ชนิด (ดำ แดง ขาว) โดยใช้เทคนิคการสกัดด้วยไมโครเวฟ (MAE) นอกจากนี้ยังมีการการพัฒนาต้นแบบไฟโทโซมของสารสกัดพริกไทยตรังบรรจุในแคปซูลนิ่ม ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดที่ได้จากพริกไทยดำ (BP) พริกไทยแดง (RP) และพริกไทยขาว (WP) โดยใช้เทคนิคการสกัดด้วยไมโครเวฟ (MAE) กำลังไฟ 500 วัตต์ นาน 30 วินาที มีปริมาณของสารสำคัญต่างๆ มากกว่าสารสกัดที่ได้จากการใช้กำลังไฟ 300 วัตต์ นาน 50 วินาที สารสำคัญที่พบ ได้แก่ ปริมาณฟีนอลทั้งหมด (Total Phenolic Content, TPC) ปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมด (Total Flavonoid Content, TFC) ปริมาณพิเพอร์รีน และกรดไขมัน ขณะเดียวกันสารสกัด BP มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ α-glucosidase ในยีสต์ได้ดีที่สุด โดยมีค่า IC50 2.09±0.75 mg/mL ในขณะที่สารสกัด RP พบผลการยับยั้งต่อชนิดมอลเทสและซูเครสที่มีค่า IC50 2.79±0.67 และ 3.02±10.4 mg/mL ตามลำดับ ซึ่งสารสกัด BP, RP และ WB ที่ความเข้มข้น 1.00 - 200 ไมโครกรัม/mL สามารถกระตุ้นกระบวนการฟาโกไซโทซิส (phagocytosis) ของเซลล์แมคโครฟาจ และเพิ่มการสร้างไนตริกออกไซด์ (NO) ได้ การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า MAE (Microwave-Assisted Extraction) สามารถช่วยเพิ่มปริมาณสารประกอบทางเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพ ของพริกไทยตรัง ซึ่งการนำสารสกัดที่ได้ไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบไฟโตโซมพริกไทยแคปซูลนิ่มมีศักยภาพในการนำไปพัฒนาเป็นยาแผนโบราณเพื่อรักษาโรคเบาหวานและเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย |
รายละเอียดการนำไปใช้งาน | |
เอกสาร Final Paper(s) |
|
ทีมวิจัย
ที่ | นักวิจัย | หน่วยงาน | ตำแหน่งในทีม | การมีส่วนร่วม (%) |
---|---|---|---|---|
1 | ผศ.ดร. ธนากรณ์ ดำสุด | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช | หัวหน้าโครงการ | 60 |
2 | รศ.ดร. เฉลิมพงษ์ แสนจุ้ม | คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | ผู้ร่วมวิจัย | 30 |
3 | ดร. อภิรดี โพธิพงศา | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย | ผู้ร่วมวิจัย | 10 |