โครงการวิจัย
การขยายผลเทคโนโลยีการออกแบบและสถาปัตยกรรมเพื่อสร้างคุณค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนจากฐานทรัพยากรในชุมชนคาบสทิงพระ จังหวัดสงขลา
รายละเอียดโครงการ
ปีงบประมาณ | 2566 |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ | |
ลักษณะโครงการ | โครงการใหม่ |
ประเภทโครงการ | โครงการเดี่ยว |
ประเภทงานวิจัย | โครงการประยุกต์ |
วันที่เริ่มโครงการวิจัย (พ.ศ.) | 1 ตุลาคม 2565 |
วันที่สิ้นสุดโครงการวิจัย (พ.ศ.) | 30 กันยายน 2566 |
วันที่ได้รับทุนวิจัย (พ.ศ.) | 1 เมษายน 2566 |
ประเภททุนวิจัย | ทุน บพท. |
สถานะโครงการ | สิ้นสุดโครงการ(ส่งผลผลิตเรียบร้อยแล้ว) |
เลขที่สัญญา | A11F660104 |
เป็นโครงการวิจัยที่ใช้ในการจบการศึกษา | ไม่ใช่ |
เป็นโครงการวิจัยรับใช้สังคม | ไม่ใช่ |
บทคัดย่อโครงการ | บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงพัฒนาและเชิงปฏิบัติการ
มุ่งหวังขยายเทคโนโลยีที่เหมาะสมไปยัง 6 ชุมชนเป้าหมาย ได้แก่ ชุมชนรำแดง ชุมชนชะแล้ ชุมชนปากรอ
ชุมชนบางเขียด ชุมชนทำนบ และชุมชนป่าขาด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา โดยมีวัตถุประสงค์
1) เพื่อนำเทคโนโลยีด้านการออกแบบและสถาปัตยกรรม
มาขยายผลสู่ชุมชนในคาบสมุทรสทิงพระ สร้างคุณค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนจากฐานทรัพยากร และ 2)
เพื่อยกระดับความพร้อมของความรู้และเทคโนโลยีทางด้านสังคม (SRL)
ผ่าน Learning and Innovation Platform (LIP) ของการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม
และสร้างขีดความสามารถของนวัตกรชุมชน สำหรับบริบทพื้นที่เป้าหมาย ทั้ง 6 พื้นที่ ตั้งอยู่คาบสมุทรสทิงพระ
มีลักษณะยาวเรียวเป็นรูปสามเหลี่ยมยื่นสู่ทะเลสาบ เป็นพื้นที่สามน้ำ คือ
น้ำจืดในทะเลสาบ สงขลา น้ำเค็มในอ่าวไทย และน้ำกร่อยที่เกิดจากน้ำจืดผสมน้ำเค็ม
ทำให้ทรัพยากรในพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ บริบทด้านเศรษฐกิจ
พบว่าคนในชุมชนประกอบอาชีพ ทำนา ทำสวน ทำน้ำตาลโตนด และทำประมง หรือเรียกว่า
วิถีชีวิตแบบ “โหนด นา เล” สำหรับวิธีดำเนินการวิจัย สังเคราะห์ข้อมูลและทวนสอบฐานข้อมูลวิจัยเดิม
การสืบค้นข้อมูลและลงสำรวจพื้นที่ศึกษา จำนวน 6 ชุมชน
เพื่อค้นหาประเด็นปัญหาและค้นหาศักยภาพของชุมชนและกลุ่มวิสาหกิจ
ที่มีบริบทเชิงพื้นที่ใกล้เคียงกับชุมชนเดิมทั้งในด้านทุนฐานทรัพยกร
ภูมิปัญญาและองค์ตวามรู้ของชุมชน
โดยสร้างความเข้าใจและสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมกับกลุ่มและชุมชน
และจัดตั้งเครือข่ายทำงานทั้งหน่วยงานภาครัฐ และภาคีเครือข่าย
คัดเลือกและผลิตนวัตกรชุมชนจำนวน 55 คน ในการ รับ
ปรับใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสม ชุมชนผ่านชุดคู่มือองค์ความรู้
และกระบวนการ ไปสู่การถ่ายทอดองค์ความรู้
นวัตกรรมพร้อมใช้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมสู่นวัตกรชุมชน และชุมชน ผลการวิจัยพบว่าสร้างนวัตกรกระบวนการทั้งสิ้น 55 คน โดยมีนายสถานีซึ่งเป็นนวัตกรระดับ 4
จำนวน 3 คน โดยมีพื้นที่การเรียนรู้ 6 ตำบล 3
พื้นที่เรียนรู้ ได้แก่ ฐานการเรียนรู้หมู่ 7 ตำบลรำแดง
และศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ตำบลทำนบ (กศน.ตำบลทำนบ) และสวนเทพยา ตำบลป่าขาด โดยสร้างความรู้
เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นความรู้ให้กับชุมชน ได้แก่ 1) กระบวนการแปรรูปเส้นใยตาลโตนดและกาบกล้วย
2) กระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนจากเส้นใยตาลโตนดและกาบกล้วยสู่
3) กระบวนการสกัดสีจากวัสดุธรรมชาติ 4) นวัตกรรมบล็อกผนังใยตาลโตนด
และมีชุดความรู้ ได้แก่ ชุดความรู้การจัดการวัตถุดิบและการแปรรูป ชุดความรู้การใช้ประโยชน์จากกล้วยและตาลโตนด
และชุดความรู้วิถีคนลุ่มน้ำทะเลสาบ (โหนด กล้วย เล) สำหรับการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมไปขยายผลใน 6
ชุมชน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับชุมชน ทั้งการสร้างโอกาสและอาชีพใหม่ให้กับชุมชน
สร้างรายได้เพิ่ม และทำให้ชุมชนรู้สึกหวงแหนฐานทรัพยากร
Abstract
This
research is a developmental and action-oriented study aimed at extending
appropriate technologies to six target communities: Ram Daeng, Chale, Pakaro,
Bang Khit, Tamnop, and Pa Khad communities in Singhanakhon District, Songkhla
Province. The objectives are 1) to apply design and architectural technology to
these communities in the Sathing Phra Peninsula, creating community value
products from local resources, and 2) to enhance social readiness through the
Learning and Innovation Platform (LIP) for appropriate technology development
and to build the capacity of community innovators within the target areas.
These six areas are located on the Sathing Phra Peninsula, a long and narrow
triangular region extending into the lake. This area is characterized by three
types of water bodies: freshwater from Songkhla Lake, saltwater from the Gulf
of Thailand, and brackish water formed from the mixing of fresh and saltwater,
leading to a rich natural resource base. Economically, the communities engage
in rice farming, gardening, sugar palm production, and fishing, which are part
of the "Node, Na, Lay" way of life. The
research methodology includes synthesizing data and verifying existing research
databases, conducting information searches, and field surveys of the six
communities to identify issues and explore the potentials of the communities
and local enterprises. These communities share similar geographic contexts,
including resource bases, local wisdom, and community knowledge. The research
process involves fostering understanding and participation with community
groups, establishing networks with government agencies, and collaborating with
partner networks. A total of 55 community innovators were selected and trained
to adopt and adapt appropriate innovations and technologies through knowledge
manuals and processes. This knowledge was then transferred to community
innovators and their communities. The
research results demonstrate the development of 55 process innovators,
including three level 4 innovators serving as "station masters."
Learning spaces were established in six subdistricts, with three specific
learning areas: the learning base in Moo 7, Ram Daeng Subdistrict, the Tumnop
Subdistrict Learning Promotion Center (Tumnop Subdistrict Non-Formal Education
Center), and Thepya Garden in Pa Khad Subdistrict. Knowledge, technology, and
innovations introduced to the communities include 1) the processing of sugar
palm fiber and banana stalks, 2) community product design processes using sugar
palm fiber and banana stalks, 3) the extraction of natural dyes, 4) the
innovation of sugar palm fiber wall blocks, and accompanying knowledge sets:
raw material management and processing, the utilization of banana and sugar
palm, and the way of life of the Songkhla Lake basin communities (Node, Banana,
Lay). The application of appropriate technologies in the six communities
resulted in significant changes, including the creation of new opportunities
and occupations, increased income, and a heightened sense of resource
conservation within the communities. |
รายละเอียดการนำไปใช้งาน | - |
เอกสาร Final Paper(s) |
|
ทีมวิจัย
ที่ | นักวิจัย | หน่วยงาน | ตำแหน่งในทีม | การมีส่วนร่วม (%) |
---|---|---|---|---|
1 | ผศ. สาทินี วัฒนกิจ | คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย สงขลา | หัวหน้าโครงการ | 30 |
2 | ณัฐชนา นวลยัง | คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย สงขลา | ผู้ร่วมวิจัย | 25 |
3 | รอฮานา แวดอเลาะ | คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย สงขลา | ผู้ร่วมวิจัย | 25 |
4 | ผศ.ดร. ธนากรณ์ ดำสุด | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช | ผู้ร่วมวิจัย | 20 |