โครงการวิจัย
การยกระดับคุณภาพผลผลิตทุเรียนและลดต้นทุนการผลิตด้วยเทคโนโลยีระบบ ควบคุมอัจฉริยะเพื่อการส่งออก
Quality Enhancement of Durian and reducing manufacturing cost with smart control system technology for exporting.
รายละเอียดโครงการ
ปีงบประมาณ | 2567 |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ | |
ลักษณะโครงการ | โครงการใหม่ |
ประเภทโครงการ | โครงการเดี่ยว |
ประเภทงานวิจัย | โครงการประยุกต์ |
วันที่เริ่มโครงการวิจัย (พ.ศ.) | 1 ตุลาคม 2566 |
วันที่สิ้นสุดโครงการวิจัย (พ.ศ.) | 30 กันยายน 2567 |
วันที่ได้รับทุนวิจัย (พ.ศ.) | 1 พฤศจิกายน 2566 |
ประเภททุนวิจัย | ทุน ววน. |
สถานะโครงการ | เบิกงวดที่1 |
เลขที่สัญญา | 4709206 |
เป็นโครงการวิจัยที่ใช้ในการจบการศึกษา | ไม่ใช่ |
เป็นโครงการวิจัยรับใช้สังคม | ไม่ใช่ |
บทคัดย่อโครงการ | ในปี 2563
ไทยมีเนื้อที่ให้ผล จำนวนผลผลิต และจำนวนผลผลิตต่อไร่ของทุเรียน เพิ่มขึ้นจากปี 2559 เฉลี่ยร้อยละ 5.94 20.30 และ 13.55 ต่อปี ตามลำดับ เนื่องจากราคาผลผลิตทุเรียนที่เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีติดต่อกันหลายปี
จึงทำให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนพื้นที่มาปลูกทุเรียนทดแทนการปลูกพืชอื่นมากขึ้น
คาดว่าในปี 2564 จะมีปริมาณผลผลิตทุเรียน 1,283,593 ตัน หากสภาพภูมิอากาศจะเอื้ออำนวยต่อการติดดอกออกผล
ประกอบกับราคาทุเรียนที่เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์ดี ก็จะยิ่งจูงใจให้เกษตรกรบำรุงรักษาสวนทุเรียนมากยิ่งขึ้นแหล่งเพาะปลูกทุเรียนที่สำคัญของไทย
ได้แก่ จังหวัดชุมพร จันทบุรี ระยอง นครศรีธรรมราช และยะลา ในปี พ.ศ. 2563 เกษตรกรจังหวัดนครศรีธรรมราชปลูกทุเรียน 9,756 ครัวเรือน เนื้อที่
เพาะปลูก 53,670 ไร่
ผลผลิตอยู่ที่ 51,750 ตันต่อปี และผลผลิตต่อไร่ 964 ตันต่อไร่ มีเกษตรกรใช้เทคโนโลยีในการที่จะช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออก
เช่น จังหวัดชลบุรี จันทบุรี เป็นต้น โดยองค์ความรู้แบ่งออกเป็นสามส่วนหลักๆคือองค์ความรู้เรื่องการทำทุเรียนนอกฤดู
องค์ความรู้เรื่องระบบสมาร์ทฟาร์มด้วย IoT และองค์ความรู้เรื่องปัญญาประดิษฐ์
ที่นำมาใช้ประกอบในการทำงานของระบบทั้งหมดในการจัดการทุเรียนคุณภาพโดยแบ่งช่วงการทำงาน
คือ การให้ปุ๋ย การตัดแต่งผลทุเรียน การเก็บเกี่ยว อย่างไรก็ตามจังหวัดพื้นที่ภาคใต้ยังให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีน้อยมาก
และยังไม่พร้อมและไม่เข้าใจในการเปลี่ยนแปลงสู่เกษตรแม่นยำสูงหรือเกษตรอัจฉริยะ
จากปัญหาที่ได้กล่าวมาข้างต้นทางทีมวิจัยได้มีแนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าว
โดยเป้าหมายเพื่อเพิ่มคุณภาพการผลผลิตทุเรียนเกรดส่งออกโดยเพิ่มขึ้น 20
เปอร์เซ็นต์ของการส่งออกทุเรียนในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบและสร้างระบบน้ำและระบบปุ๋ยในสวนทุเรียน เพื่อสร้างระบบควบคุมเกษตรอัจฉริยะ (Precision Agriculture) และเพื่อพัฒนาเกษตรกรชาวสวนทุเรียนให้ใช้งานเกษตรอัจฉริยะ
(Precision Agriculture) โดยสิ่งที่จะได้คือ ได้ชุดระบบการให้น้ำการให้ปุ๋ย
และระบบทำสภาพอากาศเสมือนจริงในสวนทุเรียน ได้ระบบควบคุมอัจฉริยะ (Precision Agriculture)
ในการควบคุมให้ทุเรียนคุณภาพส่งออก ได้ฐานข้อมูลสภาพอากาศ การเจริญเติบโต
และการติดดอกของทุเรียนในแต่ละช่วง (Precision Tracking Agriculture) ได้ข้อมูลปริมาณผลผลิตทุเรียนในการส่งออกของจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ข้อมูลคุณภาพการผลิตทุเรียนในรอบปีของจังหวัดนครศรีธรรมราช
และได้เกษตรกรผู้ใช้งานเกษตรอัจฉริยะ (Precision Agriculture)
โดยกลุ่มเป้าหมายของเราในการพัฒนาคือเกษตรกรชาวสวนทุเรียน
ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช |
รายละเอียดการนำไปใช้งาน | |
เอกสารประกอบโครงการ |
|
ทีมวิจัย

ที่ | นักวิจัย | หน่วยงาน | ตำแหน่งในทีม | การมีส่วนร่วม (%) |
---|---|---|---|---|
1 | อุกฤษฎ์ ชำมริ | คณะเกษตรศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช | หัวหน้าโครงการ | 40 |
2 | อาทิตย์ สวัสดิรักษา | คณะเกษตรศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช | ผู้ร่วมวิจัย | 20 |
3 | ไพศาล กะกุลพิมพ์ | คณะเกษตรศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช | ผู้ร่วมวิจัย | 20 |
4 | ผศ.ดร. เสน่ห์ รักเกื้อ | คณะเกษตรศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช | ผู้ร่วมวิจัย | 20 |