ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปูแสม Episesarma singaporense บริเวณป่าชายเลน จังหวัดตรัง

) Reproductive biology of the sesarmid crab, Episesarma singaporense in Trang mangrove forest

รายละเอียดโครงการ

ปีงบประมาณ 2562
หน่วยงานเจ้าของโครงการ
ลักษณะโครงการ โครงการต่อเนื่อง
ประเภทโครงการ โครงการเดี่ยว
ประเภทงานวิจัย โครงการพื้นฐาน
วันที่เริ่มโครงการวิจัย (พ.ศ.) 1 ตุลาคม 2561
วันที่สิ้นสุดโครงการวิจัย (พ.ศ.) 30 กันยายน 2562
วันที่ได้รับทุนวิจัย (พ.ศ.) 1 ตุลาคม 2561
ประเภททุนวิจัย งบประมาณแผ่นดิน
สถานะโครงการ สิ้นสุดโครงการ(ส่งผลผลิตเรียบร้อยแล้ว)
เลขที่สัญญา
เป็นโครงการวิจัยที่ใช้ในการจบการศึกษา ไม่ใช่
เป็นโครงการวิจัยรับใช้สังคม ไม่ใช่
บทคัดย่อโครงการ ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปูแสม Episesarma singaporense บริเวณป่าชายเลน จังหวัดตรัง ชาญยุทธ สุดทองคง1 และวัฒนา วัฒนกุล2 บทคัดย่อ การวิจัยเกี่ยวกับชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปูแสม Episesarma singaporense บริเวณป่าชายเลนสิเกา จังหวัดตรัง พบคัพภะปูแสมชนิดนี้แบ่งเป็น 8 ช่วงตามพัฒนาการที่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาขนาดและปริมาตรของไข่ปูแสม พบขนาดและปริมาตรเพิ่มขึ้นตามพัฒนาการของคัพภะ ส่วนการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของคัพภะของปูแสมชนิดนี้ พบกรดไขมัน (Fatty Acid) ที่สะสมที่คัพภะ ได้แก่ Eicosapentaenoic acid (C20:5n3), Oleic acid (C18:1n9c), Docosahexaenoic acid (DHA) (C22:6n3), Arachidonic acid (C20:4n6) และ Linoleic acid (C18:2n6c) ข้อมูลชีววิทยาการสืบพันธุ์ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ เช่น อัตราส่วนเพศ ดัชนีความสมบูรณ์เพศ ฤดูกาลวางไข่ สามารถนำมากำหนดมาตรการการจัดการเพื่องดจับปูแสมเพศเมียในระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นฤดูสืบพันธุ์วางไข่ของปูชนิดนี้ นอกจากนี้ข้อมูลขนาดแรกเริ่มสมบูรณ์เพศบ่งชี้ปูแสมเพศเมียที่มีขนาดความกว้างกระดอง 22.33 มิลลิเมตรเป็นขนาดที่เหมาะสมในการจับ การจับปูแสมเพศเมียที่มีขนาดใหญ่เป็นการเปิดโอกาสให้ปูแสมมีการแพร่พันธุ์ในธรรมชาติ เพื่อรักษาประชากรปูแสมให้ยั่งยืน คำสำคัญ: ปูแสม, ชีววิทยาการสืบพันธุ์, พัฒนาการของคัพภะ 1 สาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเลและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อ. สิเกา จ. ตรัง 2 สาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ประมง คณะวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อ. สิเกา จ. ตรัง
รายละเอียดการนำไปใช้งาน
เอกสาร Final Paper(s)

ทีมวิจัย

หัวหน้าโครงการ
ที่ นักวิจัย หน่วยงาน ตำแหน่งในทีม การมีส่วนร่วม (%)
1ผศ.ดร. ชาญยุทธ สุดทองคงคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรังหัวหน้าโครงการ70
2ผศ. วัฒนา วัฒนกุลคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรังผู้ร่วมวิจัย30

บทความวารสาร

ที่ ชื่อบทความ วารสาร/หนังสือ ที่ตีพิมพ์ ระดับบทความ ฐานข้อมูลที่ตีพิมพ์ วันที่ตีพิมพ์
1Association of oocyte development with ovarian morphology and gonadosomatic index in the sesarmid crab Episesarma singaporense (Tweedie,1936)Songklanakarin Journal of Science and TechnologyระดับนานาชาติScopus, ISI1 มกราคม 2563