เอกลักษณ์ทางกายภาพ "ถนนแห่งอาหารเมืองหาดใหญ่" เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจเทศบาลนครหาดใหญ่

Physical Characteristics of Hatyai Gastronomy City for Economic Recovery of Hatyai Municipality

รายละเอียดโครงการ

ปีงบประมาณ 2563
หน่วยงานเจ้าของโครงการ
ลักษณะโครงการ โครงการใหม่
ประเภทโครงการ โครงการเดี่ยว
ประเภทงานวิจัย โครงการประยุกต์
วันที่เริ่มโครงการวิจัย (พ.ศ.) 1 ตุลาคม 2562
วันที่สิ้นสุดโครงการวิจัย (พ.ศ.) 30 กันยายน 2563
วันที่ได้รับทุนวิจัย (พ.ศ.) 1 เมษายน 2563
ประเภททุนวิจัย ทุน ววน.
สถานะโครงการ สิ้นสุดโครงการ(ส่งผลผลิตเรียบร้อยแล้ว)
เลขที่สัญญา
เป็นโครงการวิจัยที่ใช้ในการจบการศึกษา ไม่ใช่
เป็นโครงการวิจัยรับใช้สังคม ไม่ใช่
บทคัดย่อโครงการ การครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อปรับปรุงลักษณะทางกายภาพถนนอย่างสร้างสรรค์ (Build Environment) โดยการออกแบบ จัดระเบียบสภาพแวดล้อม องค์ประกอบ กำหนดสัญลักษณ์ และการสร้างสรรค์เอกลักษณ์ใหม่ของย่าน และ2) เพื่อสร้างสรรค์สัญลักษณ์ใหม่ของย่าน (New District icon) ในมิติการสร้างสรรค์ของย่าน การกำหนดจินตภาพของย่านเพื่อเกิดเอกลักษณ์ทางโครงสร้าง และความหมายที่สอดคล้อง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 605 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยอาศัยความน่าจะเป็น การสุ่มแบบอย่างง่าย และการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกข้อมูล การวิเคราข้อมูล โดยใช้สถิติ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า 1) การปรับปรุงลักษณะทางกายภาพถนนอย่างสร้างสรรค์ (Build Environment) โดยการออกแบบ จัดระเบียบสภาพแวดล้อม องค์ประกอบ กำหนดสัญลักษณ์ และการสร้างสรรค์เอกลักษณ์ใหม่ของย่าน คือ การผสานระหว่างประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ซึ่งได้จากการค้นหาอัตลักษณ์ของพื้นที่ ร่วมกับการถ่ายทอดมุมมองจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง สามารถสรุปรูปแบบเพื่อจัดทำสัญลักษณ์และป้ายสื่อความหมายต่าง ๆ ซึ่งสะท้อนความเป็นถนนนิพัทธ์อุทิศสาย 1 และกำหนดให้ติดตั้งตามตำแหน่งต่าง ๆเพื่อสร้างความน่าสนใจ เป็นส่วนดึงดูดนักท่องเที่ยวและผู้พบเห็น และ 2) การสร้างสรรค์สัญลักษณ์ใหม่ของย่าน (New District icon) ในมิติการสร้างสรรค์ของย่าน การกำหนดจินตภาพของย่านเพื่อเกิดเอกลักษณ์ทางโครงสร้าง และความหมายที่สอดคล้อง พบว่าส่วนใหญ่เป็นประเภทร้านค้า ร้านอาหารเก่าแก่ และบริการท่องเที่ยวต่างๆ ทั้งยังมีประวัติศาสตร์ และมีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ แต่มีความซบเซาลง โดยเฉพาะในช่วงระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้กิจการร้านค้าบางส่วนต้องปิดตัวลง ทั้งยังส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวโดยรวมในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จากการสำรวจทางด้านกายภาพของพื้นที่ถนนนิพัทธ์อุทิศ 1 (สาย 1) ตลอดสาย ได้ดำเนินการโดยการแบ่งเป็น 3 โซนได้แก่ โซน A โซน B และโซน C เพื่อง่ายต่อการสำรวจและจัดเก็บข้อมูล ซึ่งมีผลสัมฤทธิ์-ผลลัพธ์ จากการดำเนินงานดังนี้ โดยจากแนวทางการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ ดังที่ได้นำเสนอรูปแบบและแนวคิดในการออกแบบสัญลักษณ์ ป้ายสื่อความหมายต่าง ๆ ที่จะสามารถสะท้อนอัตลักษณ์ของถนนนิพัทธ์อุทิศสาย 1 ไว้แล้วนั้น 3) และมีแนวทางฟื้นฟูการท่องเที่ยวถนนแห่งอาหารเมืองหาดใหญ่ หลังวิกฤติโควิด-19 กรณีศึกษา ถนนนิพันธ์อุทิศ 1 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก ด้านผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ด้านการจัดการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรท่องเที่ยว ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน อยู่ในระดับมาก ด้านความปลอดภัยและความมั่นคง และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ตามลำดับ ข้อเสนอแนะ 1) ส่งเสริมย่านการท่องเที่ยวให้เกิดความเชื่อมโยงกับย่านเศรษฐกิจอื่น ๆในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ ไปจนถึงระดับจังหวัด และระดับภูมิภาค โดยเสนอให้มีเส้นทางท่องเที่ยวร่วมกับแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดใกล้เคียง เช่น พัทลุง ตรัง นครศรีธรรมราช เป็นต้น 2) สามารถขยายผลโดยนำแนวคิดการปรับปรุงลักษณะทางกายภาพถนนอย่างสร้างสรรค์ (Build Environment) และแนวคิดการสร้างสรรค์สัญลักษณ์ใหม่ของย่าน (New District icon) เชื่อมโยงสู่ย่านการค้าบนถนนนิพัทธ์อุทิศ 2 และ 3 ได้ต่อไปในอนาคต เพื่อให้เกิดอัตลักษณ์ที่สอดคล้องกันทั้งย่าน แต่อาจมีการปรับเปลี่ยนแนวคิดการออกแบบ (Conceptual Design) ตามลักษณะเด่นของพื้นที่เพื่อให้เกิดความหลากหลาย มีสีสันประจำถนนนิพัทธ์อุทิศแต่ละสาย 3) ควรสนับสนุนให้มีการตกแต่งอาคาร ร้านค้า ที่สื่อถึงบรรยากาศย่านชาวจีน (Chinatown) และสนับสนุนเทศกาลที่เกี่ยวข้อง เช่น ประเพณีไหว้พระจันทร์ เพื่อให้พื้นที่ย่านการค้าบนถนนนิพัทธ์อุทิศ 1 (สาย 1) กลายเป็นแหล่งจำหน่ายอาหารประจำเทศกาล 4) ข้อเสนอที่เกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งทำให้เกิดรูปแบบการใช้ชีวิตวิถีใหม่ (New normal) โดยเฉพาะการส่งเสริมการพัฒนาระบบแอพพลิเคชั่น ต่าง ๆ เช่น การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ การจัดส่งแบบเดลิเวอรี่ เนื่องจากการจำหน่ายสินค้าประเภทอาหาร ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 น้อยกว่าสินค้าและการบริการทางด้านการท่องเที่ยวอื่นๆ จึงเป็นจุดแข็งที่จะสามารถกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวด้วยระบบธุรกิจออนไลน์ได้ ทั้งยังสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการในพื้นที่ได้มากกว่าจากบริการด้านการท่องเที่ยว และนักท่องเที่ยวจากภายนอก
รายละเอียดการนำไปใช้งาน
เอกสาร Final Paper(s)
  • -

ทีมวิจัย

หัวหน้าโครงการ
ที่ นักวิจัย หน่วยงาน ตำแหน่งในทีม การมีส่วนร่วม (%)
1พัชรินทร์ บุญนุ่นวิทยาลัยรัตภูมิ ราชมงคลศรีวิชัย สงขลาหัวหน้าโครงการ50
2ผศ. สาทินี วัฒนกิจคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย สงขลาผู้ร่วมวิจัย10
3ทัชชญา สังขะกูลคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย สงขลาผู้ร่วมวิจัย30
4นันทชัย ชูศิลป์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย สงขลาผู้ร่วมวิจัย5
5ปิยาภรณ์ ธุระกิจจำนงคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ราชมงคลศรีวิชัย สงขลาผู้ร่วมวิจัย5

บทความวารสาร

ที่ ชื่อบทความ วารสาร/หนังสือ ที่ตีพิมพ์ ระดับบทความ ฐานข้อมูลที่ตีพิมพ์ วันที่ตีพิมพ์
1ทิศทางการท่องเที่ยวเชิงอาหารเมืองหาดใหญ่เพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มของอาหารภายหลังวิกฤตโควิด 19วารสารปัญญาภิวัฒน์ระดับนานาชาติACI1 มกราคม 2565
2การศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มของชุมชนย่านฉื่อฉาง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กรณีศึกษา: ช่วงเทศกาลกินเจวารสารปัญญาภิวัฒน์ระดับนานาชาติACI1 พฤษภาคม 2563
3การพัฒนาแอปพิเคชั่นอาหาร กรณีศึกษาเมืองหาดใหญ่ASEAN Journal of Scientific and Technological Reports (AJSTR)ระดับนานาชาติACI1 มกราคม 2565

บทความประชุมวิชาการ

ที่ บทความประชุมวิชาการ ชื่อการประชุม สถานที่จัดการประชุม ปีที่จัดการประชุม (พ.ศ.)
1การพัฒนาเมืองแห่งอาหาร กรณีศึกษาประเทศไทยASIA Academia society & Industry allianceOnline2565

ทรัพย์สินทางปัญญา

ที่ ชื่อทรัพย์สินทางปัญญา ประเภททรัพย์สินทางปัญญา เลขที่หนังสือสำคัญ/หนังสือรับรอง ปีที่ได้รับการจดทะเบียน (พ.ศ.)
1วิดีโอดิจิทัลจินภาพ ถนนแห่งอาหารเมืองหาดใหญ่ลิขสิทธิ์ส.0169772565